Go to full page →

การรับประทานอาหารเป็นเวลา CChTh 362

ภายหลังที่ได้รับประทานอาหารตามเวลาแล้ว ควร ปล่อยให้กระเพาะอาหารมีเวลาพักผ่อนห้าชั่วโมง อย่ารับ ประทานอาหารอีก จนกว่าจะถึงเวลารับประทานอาหารมื้อ ต่อไป ในระยะนี้กระเพาะอาหารจะทำการย่อยอาหารเสร็จ เรียบร้อย และเมื่อถึงเวลารับประทานอาหารมื้อต่อไป กระเพาะอาหารก็จะสามารถย่อยอาหารได้อีก CChTh 362.2

เราควรระมัดระวังในการรับประทานอาหารให้เป็นเว- ลา อย่ารับประทานของจุกจิกเช่นขนมหวาน ลูกนัต ผล ไม้หรืออาหารชนิดใด ๆ ในระหว่างมื้ออาหาร การรับประ ทานไม่เป็นเวลาทำให้กระเพาะอาหารต้องทำงานอยู่ตลอด เวลาและในที่สุดเราก็จะเป็นโรคธาตุพิการ เด็ก ๆ ที่มารดา ตามใจให้รับประทานอาหารขนมและของจุกจิกระหว่างมื้ออาหาร จะไม่รู้สึกอยากรับประทานอาหารเมื่อถึงเวลา เพราะเขา ได้รับประทานขนมและของจุกจิกอย่างอื่นจนล้นกระเพาะ และกระเพาะอาหารของเขาไม่สามารถจะย่อยอาหารได้อีก CChTh 362.3

เมื่อเราล้มตัวลงนอนพักผ่อนตอนกลางคืน กระเพาะ อาหารควรจะย่อยอาหารเสร็จเรียบร้อย เพื่อจะได้หยุดพัก เช่นเดียวกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย เราไม่ควรรับประทาน อาหารหนักก่อนเข้านอน เพราะกระเพาะอาหารจะไม่ย่อย อาหารที่เรารับประทานเข้าไปและเราจะรู้สึกปวดท้อง CChTh 363.1

บางครั้งเราอาจจะรู้สึกหิวและอยากรับประทานใน ระหว่างมื้ออาหาร การที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะอวัยวะเครื่อง ย่อยอาหารต้องทำงานหนักเกินกำลังในวันหนึ่ง ๆ ภายหลัง ที่ได้ย่อยอาหารมื้อหนึ่งแล้ว กระเพาะอาหารก็ต้องการพัก ผ่อน อย่างน้อยที่สุดควรให้กระเพาะอาหารมีเวลาพักผ่อน ห้าหรือหกชั่วโมงในระหว่างอาหารมื้อหนึ่ง ๆ และคนส่วน มากที่ได้ทดลองปฏิบัติตามแผนการนี้ จะรู้สึกว่าการรับ ประทานอาหารวันละสองมื้อดีกว่ารับประทานสามมื้อ CChTh 363.2

การฝึกหัดรับประทานอาหารวันละสองมื้อมีประโยชน์ ต่อสุขภาพของร่างกาย แต่ในบางกรณีบางคนอาจจะ ต้องการรับประทานอาหารสามมื้อ อย่างไรก็ตาม อาหาร มื้อที่สามนี้ควรเป็นอาหารเบา ๆ ที่ย่อยได้ง่าย CChTh 364.1

เมื่อนักศึกษาต้องใช้ทั้งกำลังกายและกำลังสมองทำ งานหนัก ควรรับประทานอาหารสามมื้อ แต่อาหารมื้อที่ สามควรเป็นอาหารที่ไม่ปรุงด้วยผัก แต่เป็นอาหารง่าย ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่นผลไม้และขนมปัง CChTh 364.2

ไม่ควรรับประทานอาหารที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด ถ้า เรารับประทานอาหารที่เย็นชืดกระเพาะอาหารจะต้องช่วย อุ่นอาหารนั้นให้ร้อนเสียก่อนที่จะทำการย่อย เครื่องดื่ม เย็น ๆ เป็นอันตรายแก่กระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน แต่ การใช้เครื่องดื่มร้อน ๆ มากเกินไป ทำให้การย่อยอาหาร ไม่สะดวก ถ้าเราดื่มน้ำมากเกินไปเวลาที่รับประทานอาหาร จะทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ยาก เพราะของเหลวที่เรา ดื่มนั้นจะต้องซึมเข้าไปในลำใส้ก่อนที่จะย่อย อย่ารับ ประทานอาหารที่เค็มจัด หรือของดองหรืออาหารที่ผสม เครื่องเทศ ควรรับประทานผลไม้มาก ๆ แล้วท่านจะไม่รู้ สึกกระหายน้ำ เวลารับประทานอาหาร ควรรับประทาน อาหารช้า ๆ และเคี้ยวให้ละเอียด การเคี้ยวอาหารให้ ละเอียดเป็นสิ่งที่จำเป็นเพราะอาหารที่เรารับประทานจะได้ ผสมกับน้ำลายก่อนที่กระเพาะอาหารจะส่งน้ำย่อยออกมา ช่วยย่อยอาหารที่เรารับประทาน CChTh 364.3