Loading...
Larger font
Smaller font
Copy
Print
Contents

แพทย์ผู้ประเสริฐ

 - Contents
  • Results
  • Related
  • Featured
No results found for: "".
  • Weighted Relevancy
  • Content Sequence
  • Relevancy
  • Earliest First
  • Latest First
    Larger font
    Smaller font
    Copy
    Print
    Contents

    การรับประทานอาหารมากเกินไป

    หลายคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารชนิด อื่น ๆ ที่ย่อยยาก คิดว่าเพราะเหตุที่เขารับประทานอาหาร อาหารอย่างง่าย ๆ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย เขาจึง สามารถจะรับประทานให้มากได้ตามความพอใจ เขาจึงรับ ประทานมาก และบางครั้งมากเกินไปจนกลายเป็นความ ละโมภอาหาร การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ผิด อวัยวะเครื่องย่อย อาหารไม่ควรจะทำงานหนักเกินกำลัง เพราะจะทำให้ร่าง กายอ่อนเพลีย และทำให้กระเพาะอาหารพิการได้MHTH 533.2

    ตามประเพณีนิยม เขามักจะจัดวางอาหารบนโต๊ะ โดยนำเข้ามาวางทีละอย่าง ๆ ต่อ ๆ กันไปจนครบชุด เมื่อ ไม่ทราบว่าจะมีอาหารชนิดไหนต่อไป เราอาจจะรับประ- ทานอาหารจนอิ่มซึ่งไม่เหมาะกับเรา เมื่ออาหารชุดสุด ท้ายถูกนำเข้ามาตั้ง เราก็จะรับประทานมากเกินควร เมื่อ ถึงเวลารับประทานอาหารของหวานเราก็อิ่มจนรับประทาน อีกไม่ได้ ถ้าอาหารทั้งหมดที่เราจะรับประทานสำหรับ อาหารมื้อหนึ่ง ๆ ได้ถูกนำมาวางไว้บนโต๊ะพร้อม ๆ กันเมื่อ เราลงมือรับประทานอาหาร เราก็มีโอกาสที่จะเลือกรับ ประทานได้อย่างดีที่สุดMHTH 534.1

    บางครั้งเราจะรู้สึกไม่สบายทันที ภายหลังที่ได้รับ ประทานอาหารมากเกินไป ในบางครั้งเราจะไม่รู้สึกเจ็บ ปวด แต่อวัยวะเครื่องย่อยอาหารจะอ่อนกำลัง ทำให้ร่าง กายของเราพลอยอ่อนกำลังไปด้วยMHTH 534.2

    อาหารที่เรารับประทานมากเกินไป ทำให้อวัยวะ เครื่องย่อยอาหารต้องทำงานหนัก ทำให้เรารู้สึกอ่อนเพลีย และไม่สบาย การรับประทานอาหารมากเกินไปทำให้ร่าง กายต้องส่งโลหิตไปช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ อวัยวะ เครื่องย่อยอาหารต้องทำงานหนัก และเมื่ออวัยวะเหล่านี้ทำ งานของมันเสร็จแล้ว เราก็จะรู้สึกอ่อนเพลีย บางคนที่ รับประทานอาหารมากเกินไปอยู่เรื่อย ๆ เรียกความอ่อน เพลียนี้ว่าความหิว แต่สิ่งนี้เกิดจากอวัยวะเครื่องย่อยอาหาร ทำงานหนักเกินไป บางครั้งสมองจะมึนซึม ทำให้เราไม่ อยากทำการงานอะไรเลยMHTH 534.3

    การที่เรารู้สึกไม่สบายเช่นนี้ ก็เพราะกระเพาะ อาหารต้องทำงานหนักเกินกำลังทำให้อ่อนเพลียย่อยอาหาร ไม่สะดวก ถ้ากระเพาะอาหารของเรามีปากมันก็คงจะพูดว่า “ขอให้ฉันพักผ่อน” แต่หลายคนคิดว่าเมื่อเรารู้สึกอ่อน เพลียหมายความว่า เราต้องการอาหารมากขึ้น ดังนั้นแทน ที่จะให้กระเพาะอาหารได้หยุดพัก กลับจะทำให้ต้องทำงาน หนักมากขึ้น ผลที่ได้รับก็คือ กระเพาะอาหารต้องเหน็ด เหนื่อยและไม่สามารถจะทำงานได้สะดวกMHTH 535.1

    Larger font
    Smaller font
    Copy
    Print
    Contents