บท 35 - เสรีภาพของจิตสำนึกถูกคุกคาม
สงครามครั้งยิ่งใหญ่
- Contents- อารัมภบท
- บทนำของคณะผู้จัดพิมพ์ฉบับภาษาอังกฤษ
- คำนำของผู้ประพันธ์
- บท 1 - ความพินาศของกรุงเยรูซาเล็ม
- บท 2 - การกดขี่ข่มเหงในศตวรรษต้นๆ
- บท 3 - ยุคมืดทางจิตวิญญาณ
- บท 4 - ชาววอลเดนซิส
- บท 5 - ยอห์น ไวคลิฟ
- บท 6 - ฮัสและเจอโรมี
- บท 7 - ลูเธอร์ตีตัวออกห่างจากโรม
- บท 8 - ลูเธอร์รายงานตัวต่อสภา
- บท 9 - นักปฏิรูปศาสนาชาวสวิส
- บท 10 - ความก้าวหน้าของการปฏิรูปในประเทศเยอรมนี
- บท 11 - การประท้วงของเจ้าครองแคว้นต่างๆ
- บท 12 - การปฏิรูปศาสนาในประเทศฝรั่งเศส
- บท 13 - ประเทศเนเธอร์แลนด์และแถบสแกนดิเนเวีย
- บท 14 - นักปฏิรูปศาสนาชาวอังกฤษรุ่นหลัง
- บท 15 - พระคัมภีร์กับการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส
- บท 16 - บรรพบุรุษที่เป็นพิลกริม
- บท 17 - ผู้ประกาศข่าวของรุ่งอรุณ
- บท 18 -นักปฏิรูปชาวอเมริกันท่านหนึ่ง
- บท 19 - ความสว่างส่องเข้าไปในที่มืด
- บท 20 - การตื่นตัวครั้งยิ่งใหญ่ฝ่ายศาสนา
- บท 21 - คำเตือนที่ถูกปฏิเสธ
- บท 22 - เหตุการณ์เกิดขึ้นตามคำพยากรณ์
- บท 23 - สถานนมัสการคืออะไร
- บท 24 - อภิสุทธิสถาน
- บท 25 - พระบัญญัติของพระเจ้าเปลี่ยนแปลงไม่ได้
- บท 26 - ภารกิจหนึ่งของการปฏิรูป
- บท 27 - การฟื้นฟูยุคใหม่
- บท 28 - เผชิญหน้ากับหนังสือบันทึกแห่งชีวิต
- บท 29 - จุดเริ่มต้นของความชั่ว
- บท 30 - มนุษย์และซาตานเป็นศัตรูกัน
- บท 31 - สื่อวิญญาณชั่ว
- บท 32 - กับดักของซาตาน
- บท 33 - การหลอกลวงยิ่งใหญ่ครั้งแรก
- บท 34 - คนตายติดต่อกับเราได้หรือ
- บท 35 - เสรีภาพของจิตสำนึกถูกคุกคาม
- บท 36 - การขัดแย้งที่กำลังจะเกิดขึ้น
- บท 37 - พระคัมภีร์เป็นโล่ป้องกัน
- บท 38 - คำเตือนสุดท้าย
- บท 39 - เวลาแห่งความทุกข์ยาก
- บท 40 - ประชากรของพระเจ้าได้รับการช่วยกู้
- บท 41 - โลกร้างอ้างว้าง
- บท 42 - ความขัดแย้งสิ้นสุดแล้ว
Search Results
- Results
- Related
- Featured
- Weighted Relevancy
- Content Sequence
- Relevancy
- Earliest First
- Latest First
- Exact Match First, Root Words Second
- Exact word match
- Root word match
- EGW Collections
- All collections
- Lifetime Works (1845-1917)
- Compilations (1918-present)
- Adventist Pioneer Library
- My Bible
- Dictionary
- Reference
- Short
- Long
- Paragraph
No results.
EGW Extras
Directory
บท 35 - เสรีภาพของจิตสำนึกถูกคุกคาม
ปัจจุบันนี้ชาวโปรเตสแตนต์มองดูลัทธิโรมันด้วยความชื่นชมมากกว่าในอดีตที่ผ่านมามาก ในประเทศต่างๆ ที่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกยังไม่เฟื่องฟูมากนัก ผู้นิยมระบอบเปปาซีต้องใช้วิธีรอมชอมเพื่อหวังสร้างอิทธิพล มีความเฉยเมยเพิ่มมากขึ้นต่อหลักคำสอนทั้งหลายที่แยกบรรดาคริสตจักรซึ่งปฏิรูปแล้วออกจากสภาปกครองสงฆ์ของระบอบเปปาซี ความเห็นกำลังขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในเรื่องที่ว่า ในที่สุดแล้วเราก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนักในประเด็นสำคัญต่างๆ ดังที่เคยนึกไว้ในอดีต และในเรื่องที่ว่าการยอมอ่อนตามเพียงเล็กน้อยในส่วนของเราจะนำพวกเราไปสู่ความเข้าใจกับโรมได้ดียิ่งขึ้น เวลานั้นในสมัยที่ชาวโปรเตสแตนต์ให้คุณค่าอย่างสูงกับเสรีภาพของจิตสำนึกซึ่งต้องซื้อมาด้วยราคาแพง พวกเขาสอนลูกๆ ให้เกลียดชังหลักคำสอนและพิธีกรรมของระบอบเปปาซีและถือว่าการแสวงหาการปรองดองกับโรมนั้นเป็นการทรยศต่อพระเจ้า แต่บัดนี้ความรู้สึกที่แสดงออกนั้นช่างแตกต่างกับสมัยนั้นอย่างมากกระไรเช่นนี้ {GC 563.1}GCth17 493.1
บรรดาผู้ที่ปกป้องระบอบเปปาซีเปิดเผยว่า คริสตจักรของตนถูกใส่ร้ายมาตลอด และโลกของชาวโปรเตสแตนต์มีแนวโน้มที่จะยอมรับคำกล่าวประโยคนี้ ผู้คนจำนวนมากเร่งเร้าว่าเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมที่จะตัดสินคริสตจักรของวันนี้ด้วยสิ่งที่น่ารังเกียจและโง่เขลาซึ่งเห็นชัดในการปกครองของเธอในช่วงหลายศตวรรษของความไม่รู้และความมืด พวกเขาแก้ต่างให้กับความโหดเหี้ยมอันน่าสยดสยองว่าเป็นผลจากความป่าเถื่อนของอนารยะในสมัยนั้นและวิงวอนว่าอิทธิพลของอารยธรรมยุคใหม่เปลี่ยนทัศนคติของเธอไปแล้ว {GC 563.2}GCth17 493.2
คนเหล่านี้ลืมคำอ้างของอำนาจอวดดีนี้ที่ว่าตนเองไม่เคยพลั้งซึ่งถูกประกาศมาเป็นเวลาแปดร้อยปีไปแล้วหรือ คำอ้างนี้ยังไม่เคยถูกประกาศถอน แต่กลับมีการยืนยันคำอ้างนี้ในศตวรรษที่สิบเก้าอย่างหนักแน่นกว่าแต่ก่อน โรมประกาศอย่างแข็งขันว่า “คริสตจักรไม่เคยทำผิดหรือจะไม่มีวันทำผิดตามที่พระคัมภีร์บอกไว้” John L. von Mosheim, Institutes of Ecclesiastical History เล่มที่ 3 century II ตอน 2 บทที่ 2 section 9 note 17 เธอจะประกาศเลิกหลักการที่ครอบงำวิถีของเธอในอดีตได้อย่างไร {GC 564.1}GCth17 494.1
คริสตจักรของระบอบเปปาซีจะไม่มีวันละทิ้งคำอ้างว่าตนเองไม่รู้พลั้งของเธอทิ้งไป ทุกสิ่งที่เธอทำไปในการกดขี่ผู้ที่ปฏิเสธคำสอนซึ่งไร้หลักเกณฑ์นั้น เธอถือว่าทำถูกต้องแล้ว แล้วเธอจะไม่ทำสิ่งนั้นซ้ำอีกหรือหากโอกาสนั้นปรากฏขึ้นอีก ถ้ากฎหมายซึ่งปัจจุบันถูกควบคุมโดยรัฐบาลฝ่ายโลกถูกยกเลิกและโรมได้รับโอกาสกลับไปสู่อำนาจเดิมแล้ว การเผด็จการและการกดขี่ของเธอจะฟื้นกลับคืนมาอย่างรวดเร็ว {GC 564.2}GCth17 494.2
นักเขียนลือชื่อคนหนึ่งกล่าวถึงท่าทีของสภาปกครองสงฆ์ของระบอบเปปาซีในเรื่องเสรีภาพของจิตสำนึกและภัยอันตรายที่คุกคามโดยเฉพาะต่อสหรัฐอเมริกาจากนโยบายที่ประสบความสำเร็จไว้ว่า {GC 564.3}GCth17 494.3
“ มีผู้คนมากมายที่ฝังใจกับการให้เหตุผลว่าความกลัวศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในสหรัฐอเมริกานั้นเป็นเพราะความดื้อรั้น ไม่ยอมผ่อนปรนและทำตัวเหมือนเด็ก คนเหล่านี้มองไม่เห็นลักษณะและท่าทีของลัทธิโรมันที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันเสรีต่างๆ ของเรา หรือไม่พบสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าใดที่แสดงถึงการแผ่อิทธิพลของเธอ ก่อนอื่น ให้เรามาเปรียบเทียบหลักการขั้นพื้นฐานของรัฐบาลของเรากับของคริสตจักรคาทอลิก {GC 564.4}GCth17 494.4
“รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริการับรองเสรีภาพของจิตสำนึก ไม่มีสิ่งใดมีคุณค่าหรือเป็นเรื่องพื้นฐานมากไปกว่านี้ ในจดหมายเวียน [Encyclical letter] ที่พระสันตะปาปาปาปีอุสที่ 9 ทรงส่งไปยังบิชอปทั้งหลายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1854 มีใจความว่า ‘หลักคำสอนไร้สาระและผิดๆ หรือการพูดอย่างเพ้อเจ้อเพื่อปกป้องเสรีภาพของจิตสำนึกนั้นเป็นความผิดที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง เป็นพวกที่รบกวน และเหนือสิ่งอื่นใด เป็นพวกที่ร้ายกาจที่สุดของประเทศ’ สันตะปาปาองค์เดียวกันในสาส์นสันตะปาปาลงวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1864 ทรงประณาม ‘ผู้ที่รับรองเสรีภาพทางจิตสำนึกและการนมัสการทางศาสนา’ รวมทั้ง ‘ผู้คนทั้งหลายที่ยืนหยัดว่าคริสตจักรไม่มีสิทธิ์ใช้กำลังบังคับ’ {GC 564.5}GCth17 494.5
“น้ำเสียงอันสงบเยือกเย็นของฝ่ายโรมในสหรัฐอเมริกาไม่ได้บ่งบอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงของหัวใจ เธอยอมผ่อนปรนในจุดที่เธอช่วยตัวเองไม่ได้ บิชอป โอ’ คอนเนอร์ [O’Connor] กล่าวว่า ‘จะยอมทนให้ฝ่ายตรงข้ามถือปฏิบัติเสรีภาพทางศาสนาได้เพียงแค่ถึงจุดที่ผลกระทบนั้นไม่เกิดภัยต่อโลกของคาทอลิก.... อาร์คบิชอปแห่งเซนต์หลุยซ์เคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า ‘ความเชื่อนอกรีตและการไม่เชื่อเลยเป็นอาชญากรรม และสำหรับในประเทศที่เป็นคริสเตียน เช่นในประเทศอิตาลีและสเปนที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นคาทอลิกและศาสนาคาทอลิกเป็นส่วนประกอบสำคัญของกฎหมายของบ้านเมือง ความผิดเหล่านี้ถูกลงโทษเช่นเดียวกับอาชญากรรมอื่นๆ’…..{GC 565.1}GCth17 495.1
“ พระคาร์ดินัล อาร์คบิชอปและบิชอปทุกคนในคริสตจักรคาทอลิกจะต้องสาบานความจงรักภักดีของตนต่อพระสันตะปาปาด้วยคำพูดต่อไปนี้ ‘ บรรดาคนนอกรีต บรรดาผู้ทำให้ศาสนาแตกแยกและผู้ทรยศต่อเจ้านายของเรา (พระสันตะปาปา) หรือผู้สืบตำแหน่งของผู้กล่าวมาแล้วข้างต้น ข้าฯ จะกดขี่และต่อต้านด้วยสุดกำลังของข้า’” Josiah Strong, Our Country บทที่ 5 ย่อหน้า 2-4 [โปรดดู APPENDIX FOR CORRECTED REFERENCES] {GC 565.2}GCth17 495.2
จริงอยู่ที่ในสังคมของโรมันคาทอลิกยังมีคริสเตียนที่จริงใจอยู่ มีคนจำนวนหลายพันในคริสตจักรที่ยังคงปรนนิบัติรับใช้พระเจ้าตามความกระจ่างที่ดีที่สุดซึ่งพวกเขาได้รับ พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงพระวจนะของพระองค์ดังนั้นจึงไม่เข้าใจความจริง [ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1888 และ 1911 โปรดดูภาคผนวก] พวกเขาไม่เคยมองเห็นความแตกต่างระหว่างการรับใช้ด้วยใจที่มีชีวิตกับการวนเวียนอยู่ในพิธีกรรมและระเบียบ พระเจ้าทรงทอดพระเนตรด้วยความอ่อนโยนเมตตาสงสารต่อจิตวิญญาณเหล่านี้ผู้ซึ่งได้รับการศึกษาในความเชื่อที่ลวงตาและไม่น่าพึงพอใจ พระองค์จะทรงกระทำให้ลำแสงแห่งความกระจ่างส่องทะลุผ่านความมืดหนาทึบที่โอบล้อมพวกเขาอยู่ พระองค์จะทรงสำแดงสัจธรรมที่มีอยู่ในองค์พระเยซูแก่พวกเขาและจะมีคนมากมายกลายเป็นประชากรของพระองค์ {GC 565.3}GCth17 495.3
แต่ลัทธิโรมันในยุคปัจจุบันที่มีลักษณะเป็นระบบก็ยังไม่มีอะไรสอดคล้องกับข่าวประเสริฐของพระคริสต์มากไปกว่ายุคเดิมในประวัติศาสตร์ของเธอ คริสตจักรต่างๆ ของโปรเตสแตนต์ยังคงตกอยู่ในความมืดมนมิเช่นนั้นแล้วพวกเขาคงจะเห็นหมายสำคัญของกาลเวลาแล้ว คริสตจักรโรมันมีแผนการและรูปแบบของการปฏิบัติที่กว้างไกลกว่า เธอกำลังใช้เครื่องมือทุกอย่างเพื่อขยายอิทธิพลของเธอและเพิ่มอำนาจของเธอในการเตรียมตัวสำหรับความขัดแย้งที่รุนแรงและมุ่งมั่นอย่างแน่วแน่เพื่อเอาโลกมาอยู่ใต้การควบคุมของเธออีกครั้งหนึ่งให้ได้ และเพื่อสถาปนาการกดขี่ข่มเหงขึ้นมาใหม่อีกครั้งและกำจัดทุกสิ่งที่นิกายโปรเตสแตนต์ได้ทำเอาไว้ คริสตจักรคาทอลิกกำลังยึดพื้นที่ได้รอบด้าน ดูจากจำนวนโบสถ์ใหญ่และโบสถ์เล็กต่างๆ ในประเทศที่เป็นโปรเตสแตนต์ จงมองดูความนิยมของผู้คนในวิทยาลัยและศูนย์ฝึกทางศาสนาในประเทศอเมริกาที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากชาวโปรเตสแตนต์ ให้ดูการขยายตัวของลัทธิยึดพิธีกรรมทางศาสนาในประเทศอังกฤษและบ่อยครั้งพวกเขาเอาใจออกห่างเพื่อไปเข้าร่วมกับคาทอลิก สิ่งเหล่านี้ควรต้องปลุกความกังวลของทุกคนที่นับถือหลักการอันบริสุทธิ์ของพระกิตติคุณให้ตื่นขึ้น {GC 565.4}GCth17 495.4
ชาวโปรเตสแตนต์เข้าไปยุ่งและสนับสนุนหลักคำสอนและพิธีกรรมของระบอบเปปาซี พวกเขาประนีประนอมและยอมผ่อนปรนในหลายสิ่งที่แม้แต่พวกนิยมระบอบเปปาซีเองก็ยังรู้สึกแปลกใจและไม่เข้าใจ ผู้คนมากมายปิดตาตนเองให้กับลักษณะที่แท้จริงของลัทธิโรมันและให้กับภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเธอเรืองอำนาจ ประชาชนจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นให้ต่อต้านความก้าวหน้าของศัตรูที่อันตรายที่สุดของเสรีภาพฝ่ายพลเรือนและฝ่ายศาสนา {GC 566.1}GCth17 496.1
ชาวโปรเตสแตนต์มากมายทึกทักว่าศาสนาคาทอลิกนั้นไม่มีจุดน่าสนใจและการนมัสการนั้นก็น่าเบื่อหน่าย เป็นพิธีกรรมที่วกวนไร้ความหมาย พวกเขาเข้าใจเรื่องนี้ผิด แม้ลัทธิโรมันจะตั้งอยู่บนการหลอกลวง แต่ก็ไม่ใช่เป็นการหลอกลวงที่หยาบหรือเซ่อซ่า พิธีทางศาสนาของคริสตจักรโรมันนั้นเป็นพิธีกรรมที่น่าประทับใจที่สุด การแสดงออกที่โอ่อ่าหรูหราและพิธีกรรมที่ขึงขังสะกดประสาทรับรู้ต่างๆ ของคนทั้งหลายและทำให้เสียงคัดค้านของเหตุผลและจิตสำนึกเงียบลงได้ สายตาจะหลงมนต์เสน่ห์ โบสถ์อันยิ่งใหญ่ตระการตา ขบวนแห่ที่สง่างาม แท่นบูชาทองคำ หิ้งบูชาประดับเพชรระยิบระยับ ภาพวาดเรืองนามและรูปปั้นอันงดงามวิจิตรล้วนดึงดูดความสนใจของผู้ที่รักความสวยงาม หูก็ถูกมนต์สะกดเช่นกัน เสียงดนตรีที่ไม่ด้อยกว่าของผู้ใด เสียงโน้ตจากออร์แกนที่ทุ้มลึกผสมผสานกับเสียงไพเราะของคณะประสานเสียงดังก้องลอยขึ้นสู่โดมสูงและผ่านทางเดินระหว่างเสาหินของวิหารโบสถ์อันสง่างาม สิ่งเหล่านี้ไม่พลาดที่จะสร้างความประทับใจแก่จิตใจของผู้คนด้วยความน่าเกรงขามและความเคารพ {GC 566.2}GCth17 496.2
ภาพลักษณ์ภายนอกอันตระการตา เอิกเกริกและอย่างมีระเบียบแบบแผนเหล่านี้เพียงแค่ยั่วยุอารมณ์อยากต่างๆ ของจิตวิญญาณที่เจ็บป่วยด้วยบาปเท่านั้น ภาพลักษณ์ภายนอกเหล่านี้เป็นหลักฐานของความเสื่อมทางจริยธรรมที่อยู่ภายใน ศาสนาของพระคริสต์ไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งดึงดูดใจเช่นนี้มาโฆษณาชวนเชื่อ ภายใต้แสงที่ส่องมาจากกางเขน คริสตศาสนาที่แท้จริงจะปรากฏให้เห็นถึงความใสบริสุทธิ์และเป็นที่รักยิ่งจนไม่มีเครื่องประดับภายนอกใดๆ จะเพิ่มคุณค่าที่แท้จริงของมันได้ มันเป็นความงดงามของความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นจิตวิญญาณที่อ่อนสุภาพและสงบเยือกเย็นซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อพระเจ้า {GC 566.3}GCth17 496.3
รูปแบบอันสว่างเจิดจ้าไม่จำเป็นต้องเป็นดัชนีชี้วัดความคิดที่บริสุทธิ์และสูงส่ง ศิลปะแบบกรอบความคิดระดับสูงและรสนิยมอันละเอียดอ่อนนั้นบ่อยครั้งเกิดขึ้นมาจากสติปัญญาที่ฝักใฝ่ทางเนื้อหนังและทางโลก บ่อยครั้งซาตานจะใช้สิ่งเหล่านี้เพื่อนำผู้คนให้ลืมความจำเป็นของฝ่ายจิตวิญญาณ เพื่อทำให้พวกเขาหลงหายไปจากภาพของชีวิตอมตะในอนาคต เพื่อหันพวกเขาไปจากพระผู้ช่วยอนันต์ของเขาและดำเนินชีวิตเพื่อโลกนี้เท่านั้น {GC 567.1}GCth17 497.1
ศาสนาที่ดูสวยงามแต่ภายนอกนั้นเป็นที่ถูกตาต้องใจของหัวใจที่ยังไม่บังเกิดใหม่ ความโอ่อ่าตระการตาและมีระเบียบแบบแผนในพิธีนมัสการของคาทอลิกมีพลังล่อลวงและมีมนต์ขลังและหลอกลวงผู้คนจำนวนมากมายมาแล้ว และทำให้คนเหล่านี้มองคริสตจักรโรมันเป็นเหมือนประตูที่แท้จริงของสวรรค์ ไม่มีผู้ใดนอกจากผู้ที่วางเท้าของตนยืนอย่างมั่นคงบนรากฐานของความจริงและหัวใจได้รับการบังเกิดใหม่ด้วยพระวิญญาณของพระเจ้าแล้วเท่านั้นจึงจะปลอดภัยจากอิทธิพลของเธอ คนนับพันที่ไม่เคยมีความรู้ด้านประสบการณ์กับพระคริสต์จะถูกชักนำให้รับศาสนาแต่เปลือกนอกที่ปราศจากพลัง ศาสนาเช่นนี้เป็นที่ปรารถนาของคนมากมาย {GC 567.2}GCth17 497.2
คำอ้างของคริสตจักรว่ามีสิทธิอภัยบาปทำให้บรรดาผู้นิยมลัทธิโรมันรู้สึกว่ามีเสรีภาพที่จะทำบาป และพิธีทางศาสนากของการสารภาพบาปซึ่งหากไม่ทำตามจะไม่ได้รับการอภัยนั้นก็มีแนวโน้มที่จะมอบใบอนุญาตให้ทำบาปได้ด้วยเช่นกัน ผู้ที่คุกเข่าต่อหน้ามนุษย์ที่ล้มลงในบาปและเปิดใจสารภาพความลับและจินตนาการของหัวใจของตนนั้นกำลังลดความเป็นมนุษย์และลดศักดิ์ศรีของทุกสัญชาติญาณอันสง่างามของจิตวิญญาณของเขาให้ต่ำลง ในการเปิดเผยบาปต่างๆ ของชีวิตของเขาให้กับบาทหลวง—ผู้ซึ่งมีข้อบกพร่อง เป็นคนมตะที่เต็มไปด้วยบาป และมักจะหมกมุ่นในเมรัยและโลกียวิสัย—มาตรฐานอุปนิสัยของเขาจะยิ่งตกต่ำลง และผลลัพธ์คือเขากลายเป็นผู้มีมลทิน ในความคิดของเขานั้น เขาลดคุณค่าของพระเจ้าลงสู่ระดับเดียวกับมนุษย์ผู้เต็มไปด้วยบาป เพราะบาทหลวงยืนอยู่ในฐานะของตัวแทนพระเจ้า การสารภาพบาปอันเสื่อมน่าอายจากมนุษย์ไปสู่มนุษย์เช่นนี้เป็นน้ำพุลึกลับซึ่งเป็นบ่อกระจายความชั่วมากมายที่ทำให้โลกเป็นมลทินและเตรียมโลกไว้สำหรับความพินาศสุดท้าย อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่หมกมุ่นแต่จะสนองตัณหาของตนเอง การสารภาพบาปให้กับมนุษย์ที่ต้องตายด้วยกันนั้นเป็นเรื่องน่าชื่นชอบมากกว่าการเปิดใจต่อพระเจ้า ธรรมชาติมนุษย์พึงพอใจที่จะสารภาพบาปมากกว่าการละทิ้งบาป การห่มด้วยผ้ากระสอบและตีด้วยต้นตำแยหรือทรมานด้วยโซ่ตรวนเพื่อสร้างความบัดสีให้แก่เนื้อหนังนั้นทำได้ง่ายกว่าที่จะเอาตัณหาฝ่ายเนื้อหนังไปตรึงกางเขน หัวใจที่ฝักใฝ่เนื้อหนังยินดีแบกแอกหนักแทนที่จะน้อมคำนับต่อแอกของพระคริสต์ {GC 567.3}GCth17 497.3
โบสถ์ของโรมกับโบสถ์ของชาวยิวในสมัยที่พระคริสต์เสด็จมาครั้งแรกนั้นมีความคล้ายคลึงกันอย่างโดดเด่น ในขณะที่ชาวยิวเหยียบย่ำหลักการทุกข้อของธรรมบัญญัติของพระเจ้าอย่างลับๆ แต่ในลักษณะภายนอกแล้วพวกเขาถือรักษากฎบัญญัติเหล่านี้อย่างเข้มงวดและทำให้กฎเหล่านี้เป็นภาระหนักเพิ่มขึ้นด้วยข้อเรียกร้องบังคับต่างๆ และขนบธรรมเนียมประเพณีทั้งหลายซึ่งทำให้การเชื่อฟังปฏิบัติตามเป็นเรื่องที่เจ็บปวดและเป็นภาระ เช่นเดียวกับที่ชาวยิวอ้างว่าเคารพธรรมบัญญัติ บรรดาผู้นิยมลัทธิโรมันก็อ้างว่าตนเคารพกางเขน พวกเขาเทิดทูนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการทนทุกข์ของพระคริสต์ ในขณะที่ชีวิตของพวกเขาปฏิเสธพระองค์ผู้ซึ่งกางเขนนั้นเป็นสัญลักษณ์ถึง {GC 568.1}GCth17 498.1
บรรดาผู้นิยมระบอบเปปาซีตั้งกางเขนไว้บนโบสถ์ วางบนแท่นบูชา และปักอยู่บนเสื้อคลุมของพวกเขา ในทุกที่จะมองเห็นเครื่องหมายของกางเขน ในทุกแห่งจะถวายเกียรติและเชิดชูไว้อย่างเปิดเผย แต่คำสอนของพระคริสต์กลับถูกฝังไว้ใต้กองประเพณีที่ไร้ความหมายและการตีความหมายเท็จและข้อเรียกร้องบังคับอันโหดเหี้ยม พระดำรัสของพระผู้ช่วยให้รอดที่กล่าวถึงความดื้อรั้นของชาวยิวน่าจะนำมาใช้กับผู้นำคริสตจักรโรมันคอทอลิกได้อย่างรุนแรงกว่าว่า “เพราะพวกเขาเอาห่อของหนักวางบนบ่าของมนุษย์ แต่ส่วนพวกเขาเองไม่ยอมแม้แต่จะใช้สักนิ้วเดียวไปยก” มัทธิว 23:4 จิตวิญญาณที่รู้สำนึกถูกเก็บให้[หรือถูกควบคุมไว้ให้??]หวาดผวาอยู่ตลอดเวลากลัวพระพิโรธของพระเจ้าผู้ไม่ทรงพอพระทัย ในขณะที่ผู้ดำรงตำแหน่งสูงมากมายของคริสตจักรกลับใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยและเพลิดเพลินอยู่กับตัณหาฝ่ายเนื้อหนัง {GC 568.2}GCth17 498.2
การกราบบูชารูปเคารพและโบราณวัตถุ การปลุกนักบุญและเทิดทูนพระสันตะปาปาเป็นเล่ห์กลของซาตานที่จะหันเหสติปัญญาของคนทั้งหลายออกไปจากพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์ เพื่อทำลายพวกเขาให้พินาศอย่างสมบูรณ์ มันเพียรพยายามเปลี่ยนความสนใจของพวกเขาออกจากพระองค์ผู้ทรงเป็นผู้เดียวที่พวกเขาจะพบความรอดได้ มันจะชี้นำให้พวกเขาไปหาวัตถุใดก็ตามมาแทนที่พระองค์ผู้ตรัสว่า “บรรดาผู้เหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเราและเราจะให้ท่านทั้งหลายได้หยุดพัก” มัทธิว 11:28 {GC 568.3}GCth17 498.3
ซาตานพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะนำเสนอพระลักษณะของพระเจ้า ธรรมชาติของบาป และประเด็นที่แท้จริงของความขัดแย้งครั้งยิ่งใหญ่ให้ผู้คนเข้าใจผิด เล่ห์เพทุบายของมันบั่นทอนภาระความผูกพันที่มีต่อธรรมบัญญัติของพระเจ้าให้ลดลงและมอบใบอนุญาตให้มนุษย์ทำบาปได้ ในเวลาเดียวกัน มันยังนำมนุษย์ให้ทะนุถนอมทัศนคติผิดๆ ต่อพระเจ้าเพื่อต้องการให้คนเหล่านั้นนับถือพระเจ้าด้วยความหวาดผวาและความเกลียดชังแทนความรัก ความโหดเหี้ยมที่เป็นส่วนหนึ่งของอุปนิสัยของมันนั้นมันซัดทอดใส่พระผู้สร้าง มันปลูกฝังเรื่องนี้ไว้ในระบบของศาสนาและแสดงออกในรูปแบบของการนมัสการ ด้วยเหตุนี้ สติปัญญาของมนุษย์จึงบอดไปและซาตานก็รวบรวมคนเหล่านี้มาเป็นสมุนเพื่อสู้รบกับพระเจ้า ด้วยแนวคิดเรื่องพระลักษณะของพระเจ้าที่ถูกบิดเบือนเช่นนี้ ประชาชาติทั้งหลายที่ไม่เชื่อพระเจ้าถูกชักนำให้เชื่อว่าการถวายมนุษย์เป็นเครื่องบูชาเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อรับประกันความพึงพอพระทัยของพระเจ้า และเป็นการทำผิดอย่างโหดเหี้ยมน่ากลัวภายใต้รูปแบบหลากหลายของการกราบไหว้รูปเคารพ {GC 569.1}GCth17 499.1
คริสตจักรโรมันคาทอลิกนำรูปแบบของลัทธินอกศาสนาและของชาวคริสเตียนมารวมเข้าด้วยกัน และทำเช่นเดียวกับพวกนอกศาสนาคือบิดเบือนพระลักษณะของพระเจ้าอย่างผิดๆ และหันไปใช้การปฏิบัติที่โหดเหี้ยมและน่ารังเกียจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย โรมในสมัยที่เรืองอำนาจได้มีการใช้เครื่องมือทรมานเพื่อบังคับให้เห็นชอบตามคำสอนของเธอ หลักประหารมีไว้สำหรับผู้ที่ไม่ยอมจำนนตามข้อกล่าวหาของเธอ มีการสังหารหมู่ที่ยังไม่ทราบจำนวนจนกว่าจะถึงเวลาเปิดเผยในวันพิพากษา ผู้ดำรงตำแหน่งสูงในคริสตจักรเพียรศึกษาภายใต้ซาตานผู้เป็นเจ้านายของพวกเขาเพื่อที่จะประดิษฐ์วิธีทรมานทารุณที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่ปลิดชีวิตเหยื่อ มีอยู่หลายรายที่กระบวนการทรมานอย่างโหดเหี้ยมนี้ถูกทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนถึงขีดจำกัดสูงสุดของความอดทนของมนุษย์จนกระทั่งธรรมชาติหยุดดิ้นรนและผู้ที่ตกเป็นเหยื่อต้อนรับความตายว่าเป็นการหลุดพ้นอันหวานชื่น {GC 569.2}GCth17 499.2
นี่เป็นจุดจบของผู้ต่อต้านโรม สำหรับผู้ติดตามของเธอนั้น เธอฝึกวินัยด้วยการเฆี่ยนด้วยหวาย ด้วยการอดอยากอันทารุณโหดร้าย และด้วยการทรมานร่างกายที่น่าหดหู่ใจทุกรูปแบบ ในการที่จะทำให้สวรรค์ชื่นชอบนั้น ผู้สำนึกผิดละเมิดบัญญัติของพระเจ้าด้วยการละเมิดกฎของธรรมชาติ พวกเขาถูกสอนให้ตัดขาดจากสิ่งผูกพันที่พระเจ้าประทานแก่มนุษย์เพื่อเป็นพระพรสำหรับการใช้ชีวิตชั่วคราวของพวกเขาบนโลกนี้ ลานหญ้ารอบโบสถ์ฝังเหยื่อนับล้านที่ใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างไร้ความหมายด้วยการพยายามเก็บกดอารมณ์ความรักตามธรรมชาติของพวกเขา ด้วยการระงับความคิดและความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ เพราะเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจต่อพระเจ้า {GC 569.3}GCth17 499.3
หากเราต้องการเข้าใจความโหดเหี้ยมอันเด็ดเดี่ยวของซาตานที่ปรากฏให้เห็นมาเป็นเวลาหลายร้อยปีซึ่งไม่ใช่ในหมู่คนที่ไม่เคยได้ยินเรื่องของพระเจ้าแต่ปรากฏอยู่ในใจกลางและทั่วทั้งอาณาจักรโลกคริสเตียนแล้ว เราเพียงแค่ต้องมองไปยังประวัติศาสตร์ของลัทธิโรมัน เจ้าชายแห่งความชั่วบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของมันในการหลู่พระเกียรติของพระเจ้าและนำความหายนะมาสู่มนุษย์ผ่านทางระบบการหลอกลวงอันมหึมานี้ และในขณะที่เรามองเห็นว่ามันได้รับชัยชนะด้วยการจำแลงตัวเองและบรรลุงานของมันจนสำเร็จโดยผ่านทางผู้นำต่างๆ ของคริสตจักรนี้ได้อย่างไรแล้ว เราจะเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าทำไมมันจึงเกลียดชังพระคัมภีร์ยิ่งนัก หากมนุษย์อ่านพระคัมภีร์เล่มนั้นแล้ว เขาจะเห็นพระเมตตาคุณและความรักของพระเจ้าอย่างเด่นชัด พวกเขาจะเห็นว่าพระองค์ไม่ทรงเคยบัญชาให้มนุษย์แบกภาระหนักเหล่านี้เลย สิ่งที่พระองค์ขอคือหัวใจที่ชอกช้ำและสำนึกผิดกับจิตวิญญาณที่ถ่อมและเชื่อฟัง {GC 570.1}GCth17 500.1
พระคริสต์ไม่เคยประทานแบบอย่างในชีวิตของพระองค์ที่ให้ชายและหญิงปิดเก็บตัวเองอย่างโดดเดี่ยวในวัดเพื่อเตรียมตัวเองให้คู่ควรกับสวรรค์ พระองค์ไม่เคยสอนว่าความรักและความเมตตาจะต้องถูกเก็บกดไว้ พระหทัยของพระผู้ช่วยให้รอดนั้นเต็มเปี่ยมด้วยความรัก ยิ่งมนุษย์เข้าใกล้ความบริบูรณ์ฝ่ายศีลธรรมมากขึ้นเท่าไร ประสาทสัมผัสของเขาก็จะไวยิ่งขึ้นและการรับรู้เรื่องบาปของเขาก็จะแหลมคมยิ่งขึ้นและความเห็นอกเห็นใจของเขาที่มีต่อผู้ที่เดือดร้อนก็จะลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น พระสันตะปาปาทรงอ้างว่าตัวพระองค์เองเป็นผู้แทนของพระคริสต์ แต่อุปนิสัยของพระองค์จะนำมาเปรียบเทียบกับพระลักษณะของพระผู้ช่วยให้รอดของเราได้อย่างไร มีใครบ้างไหมที่เคยพบว่าพระคริสต์ทรงส่งผู้คนเข้าคุกหรือเข้าเครื่องทรมานดึงแขนขาเพราะคนเหล่านั้นไม่ยอมนับถือพระองค์ในฐานะราชาแห่งสวรรค์ เคยมีใครบ้างไหมที่ได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์ตัดสินประหารผู้ที่ไม่ยอมรับพระองค์ เมื่อประชาชนจากหมู่บ้านของชาวสะมาเรียถากถางพระองค์ อัครทูตยอห์นโกรธแค้นมากและทูลถามพระองค์ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงต้องการให้พวกข้าพระองค์ขอไฟจากสวรรค์ลงมาเผาผลาญเขาไหม” พระเยซูทอดพระเนตรด้วยพระเมตตาสงสารมายังสาวกของพระองค์และทรงตำหนิจิตใจที่แข็งกระด้างของเขาว่า “บุตรมนุษย์ไม่ได้มาเพื่อทำลายชีวิตมนุษย์ แต่มาเพื่อช่วยเขาทั้งหลายให้รอด” ลูกา 9:54, 56 วิญญาณที่พระคริสต์ทรงสำแดงนั้นช่างแตกต่างอย่างยิ่งยวดจากวิญญาณของผู้ที่อ้างตนเป็นผู้แทนของพระองค์เสียนี่กระไร {GC 570.2}GCth17 500.2
บัดนี้คริสตจักรโรมันนำเสนอภาพลักษณ์หนึ่งที่ดูดีให้ชาวโลกเห็นโดยใช้คำขอโทษห่อหุ้มปิดบังบันทึกความทารุณโหดเหี้ยมของเธอ เธอสวมใส่อาภรณ์ที่คล้ายละม้ายพระคริสต์ แต่เธอยังไม่เปลี่ยนแปลง หลักการทั้งหมดของระบอบเปปาซีที่ปรากฏในยุคอดีตก็ยังคงปรากฏในยุคปัจจุบัน หลักคำสอนต่างๆ ที่ออกอุบายไว้ในยุคที่มืดมนที่สุดก็ยังใช้ได้ผลอยู่ จงอย่าให้ผู้ใดหลอกลวงตนเองเลย ระบอบเปปาซีที่บัดนี้ชาวโปรเตสแตนต์พร้อมที่จะให้เกียรตินั้นยังคงเป็นเหมือนเดิมเช่นเดียวกับที่เคยปกครองโลกในสมัยของการปฏิรูปศาสนาซึ่งเมื่อคนของพระเจ้าลุกขึ้นพร้อมที่จะเอาชีวิตของตนเข้าแลกเพื่อเปิดโปงความชั่วของเธอ เธอยังคงครอบครองความหยิ่งยโสและการเสแสร้งที่ทะนงตนเหมือนเดิมซึ่งครอบงำกษัตริย์และขุนนางทั้งหลายอยู่และยังคงอ้างอภิสิทธิ์ในการใช้พระราชอำนาจของพระเจ้า จิตวิญญาณของเธอในปัจจุบันไม่ได้เหี้ยมและโหดร้ายน้อยไปกว่าในสมัยที่เธอบดขยี้เสรีภาพของมนุษย์และสังหารบรรดาธรรมิกชนขององค์ผู้สูงสุด {GC 571.1}GCth17 501.1
ระบอบเปปาซีก็เพียงแค่เป็นไปตามที่คำพยากรณ์เปิดเผยว่าเธอจะเป็น นั่นคือการละทิ้งศาสนาในเวลาต่อมา 2 เธสะโลนิกา 2:3, 4 นโยบายส่วนหนึ่งของเธอคือเสแสร้งคุณสมบัติที่จะทำให้บรรลุจุดประสงค์ของเธอมากที่สุด แต่ภายใต้หลากหลายสีในคราบของกิ้งก่าคามีเลียนนั้น เธอปกปิดพิษร้ายที่ไม่เคยแปรเปลี่ยนของเจ้างูร้าย เธอประกาศว่า “ความเชื่อไม่ควรไปอยู่กับคนนอกศาสนาหรือคนที่ถูกสงสัยว่าเป็นพวกนอกศาสนา” Lenfant เล่มที่ 1 หน้า 516 เราจะยอมรับอำนาจซึ่งมีประวัติที่เขียนด้วยเลือดของธรรมิกชนมาเป็นเวลาหนึ่งพันปีให้มาเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรของพระคริสต์ในปัจจุบันนี้หรือ {GC 571.2}GCth17 501.2
สำหรับข้ออ้างที่ว่าศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกแตกต่างจากนิกายโปรเตสแตนต์น้อยกว่าในสมัยก่อนมากซึ่งชอบอ้างกันในประเทศโปรเตสแตนต์ทั้งหลายนั้นไม่ได้ปราศจากเหตุผล มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจริง แต่การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้เกิดในระบอบเปปาซี แท้จริงแล้ว การที่ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกมีความคล้ายกับโปรเตสแตนต์ของสมัยนี้มากขึ้นนั้นเป็นเพราะนิกายโปรเตสแตนต์เสื่อมถอยลงไปมากนับตั้งแต่สมัยของนักปฏิรูป {GC 571.3}GCth17 501.3
เมื่อคริสตจักรโปรเตสแตนต์ทั้งหลายเสาะแสวงหาความนิยมของโลก ความรักเทียมเท็จทำให้พวกเขาตาบอด พวกเขาไม่รู้สิ่งใดเลยนอกจากรู้ว่าเป็นเรื่องถูกต้องที่จะเชื่อในส่วนดีของความชั่วทั้งปวง และในที่สุดผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ พวกเขาก็จะเชื่อว่าทุกสิ่งที่ดีนั้นชั่ว แทนที่จะยืนหยัดปกป้องความเชื่อที่ครั้งหนึ่งเคยประทานแก่เหล่าธรรมิกชน บัดนี้พวกเขากลับกำลังขออภัยต่อโรมที่พวกเขาเคยแสดงความเห็นที่มีอคติต่อเธอ ขอร้องให้ยกโทษสำหรับความดันทุรังของพวกเขา {GC 571.4}GCth17 501.4
มีคนกลุ่มใหญ่ แม้แต่ในพวกที่มองลัทธิโรมันด้วยความไม่ชอบใจก็ยังเข้าใจเพียงเล็กน้อยถึงอันตรายที่มาจากอำนาจและอิทธิพลของเธอ คนมากมายเน้นย้ำว่าความมืดทางปัญญาและศีลธรรมซึ่งแพร่หลายในช่วงยุคกลางนั้นมีส่วนเอื้อประโยชน์ต่อการเผยแพร่คำสอนที่ไม่มีหลักเกณฑ์ ความเชื่อโชคลางและการกดขี่ของเธอ ซึ่งปัญญาที่เปิดกว้างและเจริญของยุคปัจจุบันรวมถึงความรู้ที่กระจายไปอย่างกว้างขวางและเสรีภาพทางศาสนาที่เพิ่มมากขึ้นจะไม่ยอมให้การถือทิฐิและเผด็จการเกิดการฟื้นฟูขึ้นมาได้ แค่คิดว่าสภาพเช่นนั้นจะเกิดขึ้นในยุคแห่งความรอบรู้ของปัจจุบันนี้ก็ถูกเย้ยหยันแล้ว จริงอยู่ ความกระจ่างเจิดจ้าทางปัญญา ศีลธรรมและศาสนา กำลังส่องลงมายังยุคปัจจุบันนี้ ความกระจ่างจากสวรรค์ส่องลงมาบนโลกผ่านทางหน้าหนังสือที่บรรจุพระวจนะศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าที่กางเปิดอยู่นั้น แต่ควรจดจำไว้ว่าความกระจ่างยิ่งประทานมามากเท่าไร ความมืดของผู้ที่บิดเบือนและปฏิเสธความกระจ่างนั้นก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น {GC 572.1}GCth17 502.1
การศึกษาพระคัมภีร์ด้วยการหมั่นเพียรอธิษฐานจะเปิดเผยให้ชาวโปรเตสแตนต์เห็นอุปนิสัยที่แท้จริงของระบอบเปปาซี และจะทำให้พวกเขาเกลียดชังและหลบหนีไปจากระบอบนี้ แต่คนจำนวนมากคิดว่าตนเองฉลาดและหยิ่งเกินไปจนไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องแสวงหาพระเจ้าด้วยใจถ่อมเพื่อเข้าถึงสัจธรรม แม้พวกเขาจะภาคภูมิใจถึงความรอบรู้ของตนเองก็ตามที แต่พวกเขายังขาดความรู้ทั้งเรื่องพระคัมภีร์และเรื่องฤทธานุภาพของพระเจ้า พวกเขารู้เพียงว่าต้องใช้วิธีการบางอย่างควบคุมจิตสำนึกของตนให้สงบลงและไปแสวงหาวิธีนั้นจากแหล่งที่เลวที่สุดและที่น่าอดสูที่สุดของฝ่ายจิตวิญญาณ สิ่งที่พวกเขาต้องการคือวิธีที่จะลืมพระเจ้าซึ่งจะได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีรำลึกถึงพระองค์ ระบอบเปปาซีปรับตัวพร้อมที่จะตอบสนองสิ่งที่คนเหล่านี้ขาด ระบอบนี้เตรียมตัวไว้สำหรับมนุษยชาติสองจำพวกซึ่งรวบรวมคนไว้เกือบทั่วทั้งโลก คือพวกที่จะได้รับความรอดผ่านทางความดีของเขาเองและพวกที่จะได้รับความรอดในขณะที่ยังอยู่ในบาปทั้งหลายของเขา นี่คือเคล็ดลับอำนาจของระบอบเปปาซี {GC 572.2}GCth17 502.2
เป็นที่ประจักษ์แล้วว่ายุคของความมืดมนอันยิ่งใหญ่ฝ่ายปัญญาเอื้อต่อความสำเร็จของระบอบเปปาซี และยังจะแสดงให้เห็นอีกว่ายุคของความสว่างทางปัญญาก็จะเอื้อต่อความสำเร็จของระบอบเปปาซีด้วยอย่างเท่าเทียมกัน ในอดีตที่ผ่านมาสมัยที่มนุษย์มีชีวิตอยู่โดยปราศจากพระวจนะของพระเจ้าและปราศจากความรู้เรื่องสัจธรรมนั้น ตาของพวกเขาถูกปิดไปและคนมากมายเดินไปติดกับดักโดยที่มองไม่เห็นตาข่ายซึ่งแผ่ขยายรอดักจับเท้าของพวกเขา ในยุคนี้มีคนมากมายที่ตาของพวกเขาพร่ามัวไปด้วยแสงอันเจิดจ้าของการคาดเดาของมนุษย์ที่ “เรียกกันอย่างผิดๆ ว่าวิทยาศาสตร์” พวกเขามองไม่เห็นตาข่ายและเดินเข้าไปอย่างเต็มใจราวกับถูกปิดตา พระเจ้าทรงออกแบบให้มนุษย์ทะนุถนอมพลังทางปัญญาของตนไว้ราวกับเป็นของประทานจากพระผู้สร้างของเขาและควรนำมาใช้ในพระราชกิจการรับใช้เพื่อสัจธรรมและความชอบธรรม แต่เมื่อพวกเขาฟูมฟักความหยิ่งและความทะเยอทะยานไว้ในหัวใจและมนุษย์เชิดชูทฤษฎีของตนเองเหนือพระวจนะของพระเจ้าแล้ว ปัญญาก็จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากกว่าการรู้ไม่เท่าทัน ด้วยเหตุนี้วิทยาศาสตร์จอมปลอมของยุคปัจจุบันนี้ซึ่งลอบทำลายความเชื่อในพระคัมภีร์จะผ่านการพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จในการเตรียมทางเพื่อต้อนรับระบอบเปปาซีด้วยรูปแบบที่ถูกอกถูกใจผู้คนทั่วไป เช่นเดียวกับในยุคมืดเมื่อการกักเก็บความจริงเปิดทางให้กับการแผ่ขยายของระบอบเปปาซี {GC 572.3}GCth17 502.3
ในขบวนการเคลื่อนไหวที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อให้สถาบันต่างๆ และคริสตจักรได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายรัฐนั้น ชาวโปรเตสแตนต์กำลังเดินตามรอยเท้าของบรรดาผู้นิยมระบอบเปปาซี ไม่เพียงเท่านี้ พวกเขากำลังเปิดประตูให้แก่ระบอบเปปาซีเพื่อพลิกฟื้นอิทธิพลความยิ่งใหญ่ซึ่งเธอสูญเสียไปในโลกเก่าให้กลับคืนมาในประเทศอเมริกาซึ่งเป็นประเทศโปรเตสแตนต์ และสิ่งที่เพิ่มความโดดเด่นให้กับขบวนการเคลื่อนไหวนี้คือ แท้จริงแล้วเป้าหมายหลักที่มุ่งหมายไว้ก็คือการบังคับให้ถือรักษาวันอาทิตย์ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมหนึ่งที่กำเนิดมาจากโรมและเธออ้างว่าการถือรักษาวันอาทิตย์นี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิทธิอำนาจของเธอ วิญญาณของระบอบเปปาซีคือวิญญาณของการประนีประนอมกับขนบธรรมเนียมของชาวโลกซึ่งเป็นการเชิดชูขนบธรรมเนียมของมนุษย์ให้เหนือกว่าพระบัญญัติของพระเจ้า วิญญาณนี้กำลังแทรกซึมเข้าไปในคริสตจักรโปรเตสแตนต์มากมายและกำลังนำพวกเขาให้ทำงานเพื่อเชิดชูวันอาทิตย์เช่นเดียวกันกับที่ระบอบเปปาซีได้ทำล่วงหน้าพวกเขามาก่อนแล้ว {GC 573.1}GCth17 503.1
หากผู้อ่านต้องการทราบถึงตัวแทนที่จะถูกนำมาใช้ในการต่อสู้ที่กำลังจะมาถึงในเร็ววันนี้ เขาเพียงต้องย้อนรอยไปดูข้อความซึ่งบันทึกถึงวิธีที่โรมใช้ในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมาสำหรับเป้าหมายเดียวกันนี้ หากต้องการทราบว่าเมื่อผู้นิยมระบอบเปปาซีและชาวโปรเตสแตนต์ร่วมมือกันแล้วจะทำอย่างไรเพื่อจัดการกับผู้ที่ปฏิเสธหลักคำสอนของพวกเขา ก็ขอให้ไปดูวิญญาณที่โรมปฏิบัติต่อวันสะบาโตและผู้ที่ปกป้องวันนั้น {GC 573.2}GCth17 503.2
พระราชกฤษฎีกาจากราชสำนัก การประชุมสภาและพิธีกรรมต่างๆ ของคริสตจักรซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยอำนาจฝ่ายโลกเป็นกระบวนการที่ทำให้วันฉลองเทศกาลนอกศาสนาได้รับตำแหน่งอันมีเกียรติในโลกคริสเตียน การบังคับให้ถือรักษาวันอาทิตย์เป็นครั้งแรกอย่างเปิดเผยเป็นกฎหมายที่จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงตราขึ้นในปี ค.ศ. 321 (โปรดดูภาคผนวกสำหรับหน้า GC53) คำสั่งนี้บังคับให้คนในเมืองพักผ่อนใน “วันเคารพบูชาดวงอาทิตย์” แต่อนุญาตให้คนในชนบทยังคงทำงานเกษตรกรรมได้ แม้โดยธาตุแท้แล้วเป็นกฎหมายของคนนอกศาสนา แต่จักรพรรดิเป็นผู้ประกาศบังคับใช้ภายหลังจากที่พระองค์ทรงรับเชื่อศาสนาคริสต์แต่เพียงในนาม {GC 574.1}GCth17 503.3
เมื่อปรากฏว่าพระราชกฤษฎีกาไม่เพียงพอที่จะใช้แทนสิทธิอำนาจของพระเจ้า ยูซีเบียส [Eusebius] บิชอปคนหนึ่งผู้ซึ่งดิ้นรนหาความนิยมในบรรดาเจ้าชายอีกทั้งยังเป็นสหายพิเศษและผู้ประจบสอพลอจักรพรรดิคอนสแตนติน ได้นำเสนอคำอ้างว่าพระคริสต์ทรงย้ายวันสะบาโตให้ไปเป็นวันอาทิตย์แล้ว โดยไม่ยกคำพยานหลักฐานใดในพระคัมภีร์แม้สักข้อเดียวมาพิสูจน์หลักคำสอนใหม่นี้ บิชอปยูซีเบียสเองยอมรับอย่างไม่เต็มใจถึงความเท็จของเรื่องนี้และชี้ไปที่ต้นกำเนิดของการเปลี่ยนแปลง เขากล่าวว่า “ทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ที่ต้องทำในวันสะบาโต เราย้ายไปยังวันขององค์พระผู้เป็นเจ้าแล้ว” Robert Cox, Sabbath Laws and Sabbath Duties หน้า 538 แต่ข้อโต้แย้งที่นำมาอ้างสนับสนุนวันอาทิตย์นั้น ถึงแม้จะไม่มีหลักฐานพิสูจน์ กลับยิ่งส่งเสริมให้มนุษย์กล้ามากขึ้นในการเหยียบย่ำวันสะบาโตขององค์พระผู้เป็นเจ้า ทุกคนที่ปรารถนาจะได้รับเกียรติของโลกพากันยอมรับวันเทศกาลที่โลกนิยมกันนี้ {GC 574.2}GCth17 503.4
เมื่อระบอบเปปาซีเริ่มปักรากฐานอย่างมั่นคงแล้ว งานของการเทิดทูนวันอาทิตย์ก็ดำเนินคืบหน้าต่อไป มีอยู่ช่วงระยะหนึ่งที่ประชาชนซึ่งทำงานเกษตรกรรมยังไม่ได้เข้าโบสถ์และก็ยังคงถูกถือรักษาวันที่เจ็ดเป็นวันสะบาโต แต่การเปลี่ยนแปลงอย่างได้ผลก็ค่อยๆ เกิดขึ้น ผู้ที่ดำรงตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาถูกสั่งห้ามการตัดสินลงโทษความขัดแย้งทางด้านการปกครองในวันอาทิตย์ หลังจากนั้นไม่นาน ทุกคนไม่ว่ามีตำแหน่งใดได้รับคำสั่งให้ละเว้นการทำงานปกติมิฉะนั้นจะต้องรับโทษปรับหากเป็นคนเสรีและต้องรับโทษการเฆี่ยนในกรณีที่เป็นทาส หลังจากนั้นมีคำสั่งให้ลงโทษคนร่ำรวยด้วยการยึดที่ดินกึ่งหนึ่งและในที่สุดหากยังคงดื้อดึงต่อไปก็จะถูกบังคับให้เป็นทาส ชนชั้นระดับต่ำจะต้องทรมานกับการถูกขับออกจากสังคมชั่วกัลปาวสาน {GC 574.3}GCth17 503.5
นอกจากนั้น เหตุการณ์อัศจรรย์ก็ถูกนำมาปรามผู้ที่ไม่ยอมรับพระราชกฤษฎีกานี้ด้วย ในบรรดาเหตุการณ์อัศจรรย์เหล่านั้น มีการรายงานว่าชาวนาคนหนึ่งเตรียมตัวเพื่อออกไถนาในวันอาทิตย์ ขณะทำความสะอาดคันไถด้วยท่อนเหล็กอยู่นั้น เหล็กท่อนนั้นไปแทงมือของเขาจนดึงไม่ออก เขาต้องไปทุกที่โดยมีท่อนเหล็กติดตัวเขาไปเป็นเวลานานสองปีด้วย “ความเจ็บปวดสุดที่จะทนได้และอับอาย” Francis West, Historical and Practical Discourse on the Lord’s Day หน้า 174 {GC 575.1GCth17 504.1
ต่อมาพระสันตะปาปาทรงแนะว่าบาทหลวงของท้องถิ่นควรตักเตือนผู้ล่วงละเมิดวันอาทิตย์และเรียกร้องให้พวกเขาไปโบสถ์และสวดมนต์ เกรงว่าหากไม่ทำเช่นนั้นจะนำความหายนะมาสู่ตัวเขาเองและเพื่อนบ้าน ในการประชุมของสภาคณะนักบวชครั้งหนึ่ง มีการนำข้อโต้แย้งข้อหนึ่งขึ้นมา เนื่องจากข้อนี้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางแม้แต่ในชาวโปรเตสแตนต์ด้วยกันเอง คือว่าเนื่องจากมีคนถูกฟ้าผ่าขณะทำงานในวันอาทิตย์ วันอาทิตย์จึงต้องเป็นวันสะบาโต พระราชาคณะกล่าวว่า “เป็นที่แน่ชัดว่าพระเจ้าทรงไม่พอพระทัยยิ่งนักที่พวกเขาละเลยวันนี้” จึงมีการอ้อนวอนต่อบาทหลวงและอาจารย์ทั้งหลาย บรรดาพระราชาและเจ้าชาย และประชาชนทุกคนที่ซื่อสัตย์ว่า “จะต้องใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างสุดความสามารถของพวกเขาที่จะนำวันนี้กลับคืนสู่เกียรติที่ควรได้รับ และเพื่อความน่าเชื่อถือของคริสต์ศาสนา จะต้องถือรักษาอย่างสัตย์ซื่อมากกว่านี้ในเวลาที่จะมาถึง” Thomas Morer, Discourse in Six Dialogues on the Name, Notion, and Observation of the Lord’s Day หน้า 271 {GC 575.2}GCth17 504.2
เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่าคำสั่งของสภาไม่เกิดผล จึงมีการนำอำนาจทางโลกเข้ามาเพื่อบัญญัติคำสั่งที่จะสร้างความหวาดผวาในหัวใจของประชาชนและบังคับให้พวกเขาหลีกเลี่ยงจากการทำงานในวันอาทิตย์ ที่ประชุมสภาสงฆ์ซึ่งจัดขึ้นในกรุงโรม มีการเน้นย้ำเรื่องที่สรุปไปแล้วในอดีตด้วยน้ำหนักและความน่าเกรงขามยิ่งขึ้น พวกเขายังผนวกกฎหมายนี้เข้าไปรวมอยู่ในกฎหมายฝ่ายศาสนาและให้อำนาจทางฝ่ายปกครองบังคับใช้เกือบทั่วอาณาจักรของโลกคริสเตียน See Heylyn, History of the Sabbath เล่มที่ 2 บทที่ 5 ตอนที่ 7 {GC 575.3}GCth17 504.3
แม้บัดนี้การขาดสิทธิอำนาจตามพระคัมภีร์เพื่อถือรักษาวันอาทิตย์นำความอับอายมาให้ไม่น้อย ประชาชนทวงถามคุณครูผู้สอนถึงสิทธิของการบอกปัดพระบัญชาของพระยาห์เวห์ที่ว่า “วันที่เจ็ดนั้นเป็นวันสะบาโตแด่พระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า” อพยพ 20:10 ทิ้งไปแล้วมาถวายเกียรติแก่วันของดวงอาทิตย์ จึงจำเป็นต้องหาข้อมูลอื่นเพื่อเสริมคำพยานของพระคัมภีร์ที่ขาดไปนี้ ในช่วงท้ายของศตวรรษที่สิบสองมีชายคนหนึ่งที่สนับสนุนอย่างแรงกล้าเพื่อให้ถือรักษาวันอาทิตย์ออกเยี่ยมตามโบสถ์ต่างๆ ในประเทศอังกฤษ เขาถูกต่อต้านจากพยานที่ซื่อสัตย์ต่อสัจธรรม และการลงแรงของเขานั้นไม่เกิดผลเลยจนเขาต้องไปจากประเทศนี้ช่วงหนึ่งและค้นหาวิธีเพื่อทำให้คนปฏิบัติตามคำสอนของเขา เมื่อเขากลับมาอีกครั้ง เขามาพร้อมกับสิ่งที่เขาเคยขาดไปและประสบความสำเร็จมากขึ้นเป็นอย่างมาก เขานำข้อมูลม้วนหนึ่งมาด้วยซึ่งเขาอ้างว่ามาจากพระเจ้าโดยตรง เป็นม้วนข้อมูลที่ประกอบด้วยพระบัญชาที่สั่งให้ถือรักษาวันอาทิตย์รวมทั้งคำขู่น่ากลัวเพื่อกำราบผู้ที่ไม่เชื่อฟัง เอกสารอันล้ำค่านี้—เป็นการปลอมแปลงที่ชั่วร้ายเช่นเดียวกับสถาบันที่ให้การสนับสนุน—ถูกกล่าวถึงกันว่าตกลงมาจากสวรรค์ และถูกพบในกรุงเยรูซาเล็มบนแท่นบูชาของเซนต์สิเมโอนในกลโกธา แต่ในความเป็นจริงแล้ว พระราชวังของสังฆราชที่กรุงโรมเป็นแหล่งต้นกำเนิดของเอกสารนี้ การฉ้อฉลและการปลอมแปลงเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของอำนาจและความร่ำรวยของคริสตจักรเช่นนี้เป็นเรื่องที่สภาการปกครองสงฆ์ของระบอบเปปาซีถือว่าถูกต้องตามกฎหมายมาตลอดทุกยุค {GC 576.1}GCth17 505.1
ม้วนข้อมูลห้ามการทำงานตั้งแต่เก้านาฬิกาคือบ่ายสามโมงของวันเสาร์ไปจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในวันจันทร์และอ้างว่าสิทธิอำนาจของคำสั่งนี้ผ่านการรับรองจากเหตุการณ์อัศจรรย์มากมายที่เกิดขึ้น มีรายงานว่า มีหลายคนที่ทำงานเกินเวลาที่กำหนดไว้ต้องล้มป่วยลงด้วยโรคอัมพาต มีคนหนึ่งที่ลงแรงบดข้าวโพด แทนที่จะได้แป้งข้าว เขากลับเห็นกระแสเลือดไหลออกมาและล้อกังหันไม่ยอมหมุนถึงแม้จะยังคงมีน้ำไหลผ่านอย่างแรงก็ตาม มีหญิงคนหนึ่งที่เอาก้อนแป้งที่นวดแล้วใส่เข้าไปในเตาอบ เมื่อนำออกมาก็ยังคงเป็นแป้งดิบถึงแม้เตาอบจะร้อนมากก็ตามที มีอีกคนหนึ่งที่เตรียมก้อนแป้งทำขนมปังเพื่อเข้าเตาอบในเวลาเก้านาฬิกา แต่กลับตั้งใจที่จะเก็บไว้จนถึงวันจันทร์ เขาพบว่าในวันต่อมาก้อนแป้งดิบนั้นกลายเป็นขนมปังและอบสุกโดยฤทธิ์เดชของพระเจ้า ชายคนหนึ่งกำลังอบขนมปังในเวลา 9 นาฬิกาของวันเสาร์พบว่าเมื่อเขาหักขนมปังในวันรุ่งขึ้นมีเลือดไหลออกมาจากขนมปังนั้น เรื่องไร้สาระและเต็มไปด้วยเวทมนตร์คาถาในลักษณะเช่นนี้ถูกผู้สนับสนุนวันอาทิตย์พยายามใช้เป็นรากฐานในการสร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่วันอาทิตย์ โปรดดู Roger de Hoveden, Annals เล่มที่ 2 หน้า 526-530 {GC 576.2}GCth17 505.2
ที่ประเทศสก๊อตแลนด์ เช่นเดียวกับที่ประเทศอังกฤษ การให้เกียรติวันอาทิตย์มากยิ่งขึ้นทำได้โดยการเอาส่วนหนึ่งของวันสะบาโตโบราณมารวมเข้าด้วยกัน แต่เวลาที่จะต้องถือให้บริสุทธิ์นั้นจะแตกต่างกันออกไป พระราชกฤษฎีกาของกษัตริย์แห่งประเทศสก๊อตแลนด์ประกาศให้ถือ “ วันเสาร์ตั้งแต่เที่ยงวันสิบสองนาฬิกาให้เป็นวันบริสุทธิ์” และห้ามผู้ใดทำงานทางฝ่ายโลกตั้งแต่เวลานั้นจนถึงเช้าวันจันทร์ Morer หน้า 290, 291 {GC 577.1}GCth17 506.1
แม้ว่าจะลงแรงพากเพียรอย่างไรเพื่อสถาปนาวันอาทิตย์ให้เป็นวันศักดิ์สิทธิ์แล้วก็ตาม ผู้นิยมระบอบเปปาซีเองกลับสารภาพอย่างเปิดเผยในที่สาธารณะว่าวันสะบาโตมีสิทธิอำนาจที่มาจากพระเจ้าและสถาบันที่ขึ้นมาแทนที่วันสะบาโตมีต้นกำเนิดที่มาจากมนุษย์ ในศตวรรษที่สิบหก สภาของระบอบเปปาซีประกาศอย่างชัดเจนว่า “จงให้คริสเตียนทั้งปวงจดจำไว้ว่าพระเจ้าทรงเป็นผู้ทรงเจิมให้วันที่เจ็ดนั้นเป็นวันศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติมา ไม่เพียงชาวยิวเท่านั้นแต่โดยทุกคนที่แสร้งทำตัวว่าเป็นผู้นมัสการพระเจ้า ถึงแม้เราที่เป็นคริสเตียนได้เปลี่ยนวันสะบาโตของพวกเขาให้เป็นวันขององค์พระผู้เป็นเจ้าแล้วก็ตาม” Ibid. หน้า 281, 282 ผู้ที่กำลังเหยียบย่ำธรรมบัญญัติของพระเจ้านั้นไม่ได้เป็นผู้ที่ขาดความรู้เรื่องลักษณะงานของพวกเขา แต่พวกเขาจงใจวางตนเองให้อยู่เหนือพระเจ้า {GC 577.2}GCth17 506.2
ภาพแสดงตัวอย่างที่เด่นชัดถึงนโยบายของโรมที่มีต่อผู้ที่ขัดแย้งกับเธอจะเห็นได้จากการกดขี่อันยาวนานและการนองเลือดของกลุ่มวอลเดนซิส บางคนในชนกลุ่มนี้ถือรักษาวันสะบาโต ส่วนคนอื่นๆ จำต้องทนทุกข์ทรมานในลักษณะเดียวกันเพราะความสัตย์ซื่อที่พวกเขามีต่อพระบัญญัติข้อที่สี่ ประวัติศาสตร์ของโบสถ์ต่างๆ ในประเทศเอธิโอเปียและอบิสซีเนียนั้นมีความสำคัญเป็นพิเศษ ท่ามกลางความมืดสลัวของยุคมืด คริสเตียนในภาคกลางของทวีปแอฟริกานั้นหายไปจากสายตาของโลกและโลกก็ลืมพวกเขาไป พวกเขามีความสุขกับเสรีภาพในการถือรักษาความเชื่อของพวกเขาอยู่นานหลายศตวรรษ แต่ในที่สุดโรมรู้ถึงเรื่องความเป็นอยู่ของพวกเขา ในไม่ช้าจักรพรรดิแห่งอบิสซีเนียจึงถูกลวงให้ยอมรับว่าพระสันตะปาปาเป็นผู้แทนของพระคริสต์ การยอมอ่อนข้อในเรื่องอื่นๆ ก็เกิดขึ้นตามมา มีการออกกฎหมายประกาศห้ามถือรักษาวันสะบาโตภายใต้การลงโทษที่โหดเหี้ยมที่สุด โปรดดู Michael Geddes, Church History of Ethiopia หน้า 311, 312 แต่ในไม่ช้าความเผด็จการของระบอบเปปาซีก็กลายเป็นแอกที่ขมขื่นมากจนชาวอบิสซีเนียตัดสินใจปลดมันออกจากบ่าของพวกเขา หลังจากการดิ้นรนต่อสู้อย่างรุนแรง พวกเขาขับไล่บรรดาผู้นิยมลัทธิโรมันออกไปจากอาณาจักรต่างๆ ของพวกเขา และความเชื่อโบราณกลับคืนมาอีกครั้ง คริสตจักรต่างๆ ชื่นชมปรีดาในอิสรภาพนี้และไม่เคยลืมบทเรียนที่พวกเขาได้รับเกี่ยวกับเรื่องการหลอกลวงรวมถึงเรื่องความคลั่งศาสนาและอำนาจกดขี่อันเด็ดขาดของโรม ภายในอาณาบริเวณอันสันโดษนั้นพวกเขาพึงพอใจที่จะคงอยู่ที่นั่น ไม่เป็นที่รู้จักของโลกคริสเตียนทั้งปวง {GC 577.3}GCth17 506.3
คริสตจักรต่างๆ ในทวีปแอฟริกายึดถือวันสะบาโตตามที่คริสตจักรของระบอบเปปาซีได้ยึดถือไว้ก่อนที่เธอจะละทิ้งศาสนาไปโดยสิ้นเชิง ในขณะที่พวกเขาถือรักษาวันสะบาโตตามแบบพระบัญญัติของพระเจ้านั้น พวกเขาหลีกเลี่ยงจากการทำงานในวันอาทิตย์ตามธรรมเนียมของคริสตจักร เมื่อได้รับอำนาจสูงสุด โรมเหยียบย่ำวันสะบาโตของพระเจ้าลงเพื่อเชิดชูวันของเธอเองขึ้น แต่คริสตจักรต่างๆในทวีปแอฟริกาที่เก็บซ่อนตัวอยู่เกือบพันปีนั้นไม่ได้มีส่วนแบ่งในการละทิ้งความเชื่อนี้เลย เมื่อพวกเขาตกไปอยู่ภายใต้การครอบครองของโรมนั้นก็ถูกบังคับให้ละทิ้งวันสะบาโตที่แท้จริงและยกย่องวันสะบาโตเทียมเท็จขึ้น แต่ในทันทีที่พวกเขาได้รับเอกราชแล้ว พวกเขาก็หวนกลับไปเชื่อฟังพระบัญญัติข้อที่สี่ (โปรดดูภาคผนวก) {GC 578.1}GCth17 507.1
ข้อความบันทึกในอดีตเหล่านี้เปิดเผยอย่างชัดแจ้งถึงความแค้นของโรมที่มีต่อวันสะบาโตที่แท้จริงและผู้ที่ปกป้องวันสะบาโต รวมถึงวิธีการที่เธอใช้เพื่อให้เกียรติแก่สถาบันที่เธอได้สร้างขึ้น พระวจนะของพระเจ้าสอนว่าภาพเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง เมื่อชาวโรมันคาทอลิกและชาวโปรเตสแตนต์จะรวมตัวกันเพื่อการเชิดชูวันอาทิตย์ {GC 578.2}GCth17 507.2
คำพยากรณ์ของพระธรรมวิวรณ์บทที่ 13 เปิดเผยว่า อำนาจที่มีสัญลักษณ์เป็นสัตว์ร้ายซึ่งมีเขาเหมือนลูกแกะจะทำให้ “โลกและคนที่อยู่ในโลก” บูชาระบอบเปปาซี—ซึ่งใช้สัญลักษณ์เป็นสัตว์ที่มีร่าง “เหมือนเสือดาว” สัตว์ร้ายที่มีสองเขายังพูดด้วยว่า “ให้คนทั้งหลายที่อยู่บนแผ่นดินโลกสร้างรูปจำลองรูปหนึ่งให้กับสัตว์ร้าย” และยิ่งกว่านั้นยัง “บังคับทุกคนทั้งคนเล็กน้อยและคนใหญ่โต คนมั่งมีและคนยากจน เสรีชนและทาส” ให้รับเครื่องหมายของสัตว์ร้าย วิวรณ์ 13:11-16 เป็นที่ประจักษ์แล้วว่าสัตว์ร้ายที่มีเขาเหมือนลูกแกะนั้นเป็นสัญลักษณ์ถึงอำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา และคำพยากรณ์นี้จะสำเร็จเมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาจะบังคับการถือรักษาวันอาทิตย์ซึ่งโรมอ้างไว้ว่าเป็นการยอมรับอย่างพิเศษถึงอำนาจของเธอ แต่ในเรื่องการสวามิภักดิ์ต่อระบอบเปปาซีนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว อิทธิพลของโรมในบรรดาประเทศที่เคยยอมรับอำนาจการปกครองของเธอนั้นยังไม่ได้ถูกทำลายไปมากนัก และคำพยากรณ์บอกไว้ล่วงหน้าแล้วว่าเธอจะฟื้นฟูอำนาจกลับคืนมาอีก “ข้าพเจ้าเห็น.....หัวหนึ่งของมันเหมือนอย่างถูกฟันปางตาย แต่บาดแผลฉกรรจ์นั้นได้รับการรักษาให้หายแล้ว คนทั้งโลกติดตามสัตว์ร้ายนั้นไปด้วยความอัศจรรย์ใจ” วิวรณ์ 13:3 แผลฉกรรจ์ซึ่งเกิดจากการฟันปางตายนั้นชี้ไปยังการล่มสลายของระบอบเปปาซีในปี ค.ศ. 1798 ผู้เผยพระวจนะกล่าวว่า หลังจากนั้น “บาดแผลฉกรรจ์นั้นได้รับการรักษาให้หายแล้ว คนทั้งโลกติดตามสัตว์ร้ายนั้นไปด้วยความอัศจรรย์ใจ” เปาโลกล่าวไว้ว่า “คนนอกกฎหมาย” จะอยู่ต่อไปจนถึงการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระคริสต์ 2 เธสะโลนิกา 2:3-8 เขาจะดำเนินงานการหลอกลวงต่อไปจนถึงช่วงสิ้นยุค และผู้เขียนพระคัมภีร์วิวรณ์ยังกล่าวถึงระบอบเปปาซีต่อไปอีกว่า “คนทั้งหลายที่อยู่บนแผ่นดินโลกจะบูชาสัตว์ร้ายนั้นคือคนที่ไม่มีชื่อจดไว้ในหนังสือแห่งชีวิต” วิวรณ์ 13:8 ทั้งในโลกเก่าและโลกใหม่ ระบอบเปปาซีจะได้รับการเทิดเกียรติด้วยการเคารพนับถือที่มีให้กับสถาบันวันอาทิตย์ซึ่งเป็นสถานบันที่วางอยู่บนสิทธิอำนาจของคริสตจักรโรมันแต่เพียงผู้เดียว {GC 578.3}GCth17 507.3
นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่สิบเก้าเป็นต้นมา นักการศึกษาเรื่องคำพยากรณ์ในประเทศสหรัฐได้เสนอคำพยานนี้สู่ชาวโลก จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้จะมองเห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วที่มุ่งไปสู่การสำเร็จจริงอย่างครบถ้วนของคำพยากรณ์ สำหรับครูชาวโปรเตสแตนต์ทั้งหลายยังคงใช้ข้ออ้างแบบเดียวกับผู้นำระบอบเปปาซีในเรื่องสิทธิอำนาจจากพระเจ้าในการให้ถือรักษาวันอาทิตย์และยังคงขาดหลักฐานจากพระคัมภีร์เช่นเดียวกับผู้นำระบอบเปปาซีผู้ซึ่งได้ปั้นแต่งเรื่องอัศจรรย์ขึ้นเพื่อแทนที่พระบัญชาจากพระเจ้า การกล่าวยืนยันว่าการพิพากษาลงโทษของพระเจ้าที่มีต่อมนุษย์สำหรับการละเมิดการนับถือวันอาทิตย์เป็นวันสะบาโตของพวกเขาจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง ซึ่งบัดนี้กำลังเริ่มถูกผลักดันแล้ว และการเคลื่อนไหวที่จะบังคับให้ถือรักษาวันอาทิตย์กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว {GC 579.1}GCth17 508.1
ความฉลาดและเจ้าเล่ห์อย่างน่าประหลาดใจนั้นเป็นของคริสตจักรโรมัน เธออ่านสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี เธอซุ่มรอเวลาของเธอ และเห็นว่าคริสตจักรโปรเตสแตนต์แสดงความภักดีต่อเธอด้วยการยอมรับวันสะบาโตเทียมเท็จและพวกเขากำลังเตรียมตัวที่จะบังคับให้ถือรักษาวันนี้ด้วยวิธีเฉพาะแบบเดียวกับที่เธอเคยใช้ในวันวานที่ผ่านไป ผู้ที่ปฏิเสธความกระจ่างแห่งสัจธรรมจะยังคงแสวงหาความช่วยเหลือจากอำนาจที่อุปโลกน์ตนเองว่าไม่รู้พลั้งนี้เพื่อเทิดทูนสถาบันหนึ่งซึ่งกำเนิดมาจากเธอ ไม่ใช่เรื่องยากที่จะคาดเดาได้ว่าเธอพร้อมเพียงไรที่จะลงมือช่วยชาวโปรเตสแตนต์ในงานนี้ ผู้ใดเล่าจะเข้าใจได้ดีไปกว่าผู้นำของระบอบเปปาซีว่าควรจะใช้วิธีใดในการจัดการผู้ที่ไม่เชื่อปฏิบัติตามคริสตจักร {GC 580.1}GCth17 508.2
คริสตจักรโรมันคาทอลิกพร้อมด้วยกิ่งก้านสาขาทั้งหมดทั่วทั้งโลกก่อร่างเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมและการออกแบบวางแผนเพื่อรับใช้ผลประโยชน์ของราชสำนักของระบอบเปปาซี ผู้สื่อสารนับล้านของคริสตจักรในทุกประเทศทั่วโลกได้รับการกำชับให้ผูกมัดตนเองด้วยความจงรักภักดีต่อองค์พระสันตะปาปา ไม่ว่าคนเหล่านี้จะมีสัญชาติใดหรือมีรัฐบาลใด พวกเขาต้องถือว่าอำนาจของคริสตจักรอยู่เหนืออำนาจอื่นใด ถึงแม้พวกเขาจะปฏิญาณกล่าวความจงรักภักดีต่อรัฐบาลแล้วก็ตาม แต่เบื้องหลังคำปฏิญาณเท็จนี้ คำสาบานที่จะเชื่อฟังโรมได้ปลดปล่อยพวกเขาจากพันธะคำปฏิญาณทุกคำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของเธอ {GC 580.2}GCth17 508.3
ประวัติศาสตร์เป็นพยานถึงความพยายามอย่างมีศิลปะและไม่ลดละของเธอเพื่อสอดแทรกตัวเธอเองเข้าไปในเรื่องต่างๆ ของประเทศทั้งหลาย และเมื่อเข้ายึดครองได้ก้าวแรกแล้วก็จะแผ่ขยายเป้าหมายของตนเองออกไปแม้จะต้องทำลายเจ้าชายและประชาชนก็ตามที ในปี ค.ศ. 1204 พระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ทรงบีบคั้นพระราชาเปโตรที่ 2 แห่งประเทศอาร์รากอนให้กล่าวคำปฏิญาณประหลาดต่อไปนี้ “ข้าพเจ้า เปโตร พระราชาแห่งชาวอาร์รากอเนียนยอมรับและสัญญาที่จะซื่อสัตย์และเชื่อฟังต่อนายของข้าพเจ้าคือพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ ต่อผู้สืบตำแหน่งคาทอลิกของพระองค์ และคริสตจักรโรมันคาทอลิก และจะรักษาอาณาจักรของข้าพเจ้าไว้อย่างสัตย์ซื่อด้วยการเชื่อฟังพระองค์ ปกป้องความเชื่อของคาทอลิกและกดขี่ข่มเหงพวกนอกศาสนา” John Dowling, The History of Romanism เล่มที่ 5 บทที่ 6 ตอนที่ 55 เรื่องนี้สอดคล้องกับการกล่าวอ้างในเรื่องอำนาจของพระสันตะปาปาของโรมว่า “เป็นเรื่องถูกต้องตามกฎหมายที่พระองค์จะปลดจักรพรรดิได้” และ “พระองค์สามารถอภัยบาปประชาชนจากการไปจงรักภักดีต่อผู้ปกครองที่ไม่ชอบธรรมได้” Mosheim เล่มที่ 3 cent 11 ตอนที่ 2 บทที่ 2 ตอนที่ 9 โน๊ต 17 (โปรดดูภาคผนวก) {GC 580.3}GCth17 508.4
ให้จดจำไว้ว่า คำโอ้อวดของโรมคือเธอไม่เคยเปลี่ยนแปลง หลักการของพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 และพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ยังคงเป็นหลักการของคริสตจักรโรมันคาทอลิก และหากเธอมีอำนาจเธอคงใช้มันอย่างกระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่าเหมือนเช่นหลายศตวรรษที่ผ่านมา ชาวโปรเตสแตนต์รู้เพียงน้อยนิดในสิ่งที่พวกเขาทำเมื่อเสนอตัวยอมรับความช่วยเหลือจากโรมในเรื่องการเทิดทูนวันอาทิตย์ ในขณะที่พวกเขาทุ่มเทที่จะบรรลุเป้าหมายของพวกเขา โรมกำลังมุ่งหน้าที่จะสถาปนาอำนาจของเธอขึ้นใหม่อีกครั้งเพื่อกอบกู้อำนาจยิ่งใหญ่ที่ได้สูญเสียไป ทันทีที่หลักการนี้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาว่าคริสตจักรมีความชอบธรรมใช้หรือควบคุมอำนาจของรัฐ ว่ากฎหมายทางโลกบังคับการปฏิบัติตามระเบียบทางศาสนาได้ กล่าวโดยสรุปคือ อำนาจของคริสตจักรและอำนาจของรัฐครอบงำจิตสำนึก ชัยชนะของโรมในประเทศนี้ก็เป็นเรื่องที่แน่นอน {GC 581.1}GCth17 509.1
พระวจนะของพระเจ้าเตือนถึงภัยอันตรายที่จะมาถึง หากละเลยเรื่องนี้ไป โลกของโปรเตสแตนต์ก็จะเรียนรู้ว่าอะไรคือจุดมุ่งหมายแท้จริงของโรมซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นก็สายเกินไปเสียแล้วที่จะหนีให้พ้นจากกับดัก เธอกำลังเรืองอำนาจขึ้นอย่างเงียบๆ หลักคำสอนต่างๆ ของเธอกำลังส่งอิทธิพลของเธอในสภาร่างกฎหมาย ในคริสตจักรต่างๆ และในหัวใจของมนุษย์ เธอกำลังก่อร่างโครงสร้างอันสูงตระหง่านและมหึมาในที่ลี้ลับเพื่อให้การกดขี่ข่มเหงดังเช่นในอดีตเกิดขึ้นอีกครั้ง เธอกำลังสร้างกองกำลังที่แข็งแกร่งอย่างหลบซ่อนและไม่มีผู้ใดสงสัยเพื่อไปสู่เป้าหมายสุดท้ายเมื่อถึงเวลาที่เธอจะเข้าจู่โจม ทั้งหมดที่เธอต้องการคือสมรภูมิที่ได้เปรียบและสิ่งนี้ยื่นไปไว้ให้เธอเรียบร้อยแล้ว เราจะเห็นในเร็ววันนี้และจะสัมผัสว่าเป้าหมายของธาตุแท้ของโรมันนั้นคืออะไร ใครก็ตามที่เชื่อและปฏิบัติตามพระวจนะของพระเจ้าจะประสบกับการตำหนิและการกดขี่ข่มเหง {GC 581.2}GCth17 509.2