Loading...
Larger font
Smaller font
Copy
Print
Contents

บหัศจรรย์แห่อการรักษา

 - Contents
  • Results
  • Related
  • Featured
No results found for: "".
  • Weighted Relevancy
  • Content Sequence
  • Relevancy
  • Earliest First
  • Latest First

    ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

    การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกแรงใช้กำลังเป็นข้อกำหนดที่ จำเป็นในชีวิตของเรา อวัยวะทุกส่วนของร่างกายมีหน้าที่ๆ กำหนดไว้ โดยเฉพาะ สมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะต่างๆ เหล่านี้มีผลต่อ การเจริญเติบโตและกำลังความแข็งแรง การทำงานตามปกติของอวัยวะ ทั้งระบบนั้นจะก่อให้เกิดกำลังและความแข็งแรง แต่การที่อวัยวะไม่ได้ถูก ใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ ย่อมจะมีแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความชำรุดทรุด โทรมและนำไปสู่ความตายไดในที่สุด หากเราลองมัดแขนข้างหนึ่งไว้ แม้ จะเป็นเวลาเพียงแค่สองถึงสามสัปดาห์ จากนั้นก็ค่อยแก้สายที่รัดออก ท่าน จะเห็นว่าแขนข้างที่ลูกมัดไว้นั้นจะอ่อนเปลี้ยเพลียแรงกว่าแขนอีกข้างหนึ่ง ที่ใช้งานตามปกติ การไม่มีการเคลื่อนไหวส่งผลในลักษณะเดียวกันต่อ ระบบกล้ามเนื้อทั้งหมดของร่างกาย {MH 237.3}MHTh 260.1

    การไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นสาเหตุที่ท่าให้เกิดโรคภัย การออก กำลังกายจะช่วยกระตุ้นและปรับสมดุลการไหลเวียนของโลหิต แต่การอยู่ เฉยๆ จะทำให้โลหิตไหลเวียนไม่สะดวก และส่งผลต่อกระบวนการในการ เปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีความสำคัญจำเป็นต่อชีวิตและสุขภาพมิให้เกิดขึ้นได้ ผิวหนังก็เช่นเดียวกันจะตกอยู่ในสภาพที่ไม่ทำงาน สิ่งสกปรกจะไม่ลูกขับ ออกไปตามที่ควรจะเป็นหากการไหลเวียนของโลหิตได้รับการกระตุ้นจาก การออกกำลังกาย ผิวหนังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง และปอดได้รับ อากาศที่สดชื่นและบริสุทธิ์อย่างเพียงพอ ระบบที่อยู่ในสภาวะเช่นนื้จึงผลัก ภาระหนักเป็นสองเท่าไปยังอวัยวะที่ใช้ในการขับถ่ายและขจัดของเสีย โรค ภัยไข้เจ็บจึงตามมา {MH 238.1}MHTh 260.2

    เราไม่ควรสนับสนุนให้คนไข้อยู่เฉย ๆ โดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ร่างกายเลย เมื่อร่างกายท่างานหนักจนเกินกำลังไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม การพักผ่อนอย่างเต็มที่ในช่วงระยะหนึ่งจะมีส่วนช่วยในขจัดความเจ็บป่วย แม่ในสภาพที่รุนแรงออกไปได้ แต่ในรายของคนไข้ที่เจ็บป่วยด้วยโรค เรื้อรัง ไม่มีความจำเป็นถึงขนาดที่ต้องงดการเคลื่อนไหวใดๆ ของร่างกาย ไปเสียทีเดียว {MH 238.2}MHTh 260.3

    ผู้ที่ล้มป่วยเพราะสมองต้องทำงานหนักมากเกินไป ควรให้สมองได้ หยุดพักจากการใช้ความคิดที่หนักสมอง แต่พวกเขาไม่ควรถูกชักนำให้ เชื่อว่าจะเป็นอันตรายหากพวกเขาใช้ความคิดแม้แต่เล็กน้อย หลายคนมัก จะเข้าใจอาการป่วยของพวกเขาหนักเกินความจริง ความคิดในล้กษณะ เช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อการฟื้นไข้และไม่ควรไต้รับการสนับสนุน {MH 238.3} ผู้สอนศาสนา ครูอาจารย์ นักเรียนนักศึกษาและคนอื่นๆ ที่ทำงาน ใช้สมองมักจะเจ็บป่วยได้บ่อย ๆ จากการใช้สมองทำงานมากเกินไปและไม่ ได้รับการผ่อนคลายด้วยการออกกำล้งกาย สิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการก็คือ การดำเนินชีวิตที่มีการเคลื่อนไหวมากขึ้น นิสัยในการประมาณตนอย่าง เข้มงวดผนวกกับการไต้ออกกำสังกายอย่างเหมาะสมย่อมจะทำให้ร่างกาย และสมองเกิดความกระปรื้กระเปร่าและสร้างกำลังความทนทานแก่ผู้ที่ ทำงานใช้สมองเป็นอย่างดี {MH 238.4}MHTh 261.1

    เราไม่ควรสนับสนุนผู้ป่วยที่ใช้แรงกายมากเกินไปละเว้นจากการใช้ แรงงานไปเลยเสียทีเดียว แต่การใช้แรงงานที่เป็นประโยชน์มากที่สุด ควร จะดำเนินการให้เป็นระบบและยอมรับได้ การออกกำลังกลางแจ้งเป็นสิ่งดี ที่สุด ทั้งนี้ควรมีการวางแผนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่อวัยวะที่ อ่อนแอด้วยการใช้งาน และควรทำงานนั้นด้วยความตั้งใจ ไม่ควรปล่อยให้ การใช้แรงงานของแขนเสื่อมสลายจนกลายเป็นเพียงงานหนักที่น่าเบื่อ หน่าย {MH 238.5}MHTh 261.2

    เมื่อผู้ป่วยไม่มีอะไรทำและไม่มีอะไรที่เขาสนใจ ความคิดของพวก เขาก็จะมีศูนย์รวมอยู่ที่เรื่องของตัวเองและก็จะเริ่มมองโลกในแง่ร้ายและ มีใจคอที่หงุดหงิด หลายครั้งพวกเขาหมกมุ่นและจมอยุ่กับความรู้สึกที่แย่ๆ จนคิดไปว่าตนนั้นป่วยหนักเกินกว่าที่พวกเขาเป็นจริง ๆ และไม่สามารถจะ ทำอะไรไต้เลย {MH 239.1}MHTh 261.3

    ในกรณีทั้งหมดนี้ การออกกำลังกายภายใต้การดูแลอย่างระมัดระวัง จะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ว่าวิธีการนี้เป็นการรักษาที่ได้ผลเป็นอย่างดี สำหรับคนไข้ ในบางราย การออกกำลงกายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะขาดเสียไม่ได้เลยเพื่อให้ ผู้ป่วยหายจากโรคได้ กำลังใจนั้นเดินเคียงคู่ไปกับแรงงานของแขนและสิ่ง ที่ผู้ป่วยต้องการก็คือการที่กำลังใจได้รับการหนุนชู เมื่อใดที่กำลังใจขาด พลัง จินตนาการก็จะเพี้ยนไป และไม่มีทางที่จะต้านโรคภัยไข้เจ็บได้ {MH 239.2}MHTh 262.1

    การไม่เคลื่อนไหวร่างกายส่งผลเสียที่ร้ายแรงที่สุดที่อาจเกิดกับผู้ ป่วยส่วนใหญ่ การเคลื่อนไหวเบาๆ จากการใช้แรงงานที่เป็นประโยชน์ไม่ เพียงแต่ไม่กระทบกระเทือนต่อจิตและกายแต่กลับให้ผลดีต่อทั้งสองสิ่งนี้ กล้ามเนื้อจะแข็งแรง ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น และทำให้ผู้ป่วย รู้สึกพึงพอใจที่ได้รู้ว่าเขามิใช่คนที่ไร้ประโยชน์ในโลกที่ไม่เคยหยุดพักแห่ง นี้ แรกๆ เขาอาจจะทำได้แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้นแต่ในไม่ช้าเขาจะพบว่า กำลังเรี่ยวแรงของเขานั้นค่อยๆ เพิ่มขึ้น และปริมาณของงานก็เพิ่มขึ้นเป็น ลำดับ {MH 240.1}MHTh 262.2

    การออกกำลังกายช่วยให้อวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยอาหารของผู้ป่วยที่ เป็นโรคอาหารไม่ย่อยท่างานได้ดียิ่งขึ้น การเรียนหนังสืออย่างครี่าเคร่ง หรือการออกกำลังกายหนัก ๆ ทันทีภายหลังการรับประทานอาหารเสร็จ ใหม่ ๆ ขัดขวางการทำงานของระบบการย่อยอาหาร แต่การเดินเล่นระยะ ทางสั้นๆ ด้วยศีรษะที่ตั้งตรงและไหล่ที่ผายออกภายหลังจากการรับประทาน อาหารจะเป็นประโยชน์เป็นอย่างมาก {MH 240.2}MHTh 262.3

    แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงและมีขัอเขียนที่เกี่ยวกับความส่าค้ญของการ ออกกำลังกายมาแล้วก็ตาม ก็ยังมีผู้คนอีกมากมายที่ได้ละเลยต่อการออก กำลังกาย บางคนอ้วนพุงพลุ้ยเนื่องจากระบบอุดดัน ส่วนบางคนก็ผอม แห้งและอ่อนเพลีย เพราะพลังงานที่ให้กำลังต่อร่างกายถูกนำไปใช่ในการ ย่อยและเผาผลาญอาหารที่ได้รับมากเกินจนหมดสิ้น ดับต้องทำงานหนัก มากขึ้นในการกำจัดของเสียออกจากโลหิต และผลที่ตามมาก็คือความเจ็บ ป่วย {MH 240.3}MHTh 262.4

    ผู้ที่ชอบนั่งนอนอยู่กับที่ไม่ค่อยจะได้ออกแรงควรจะหาเวลาไปออก กำลังกายกลางแจ้งทุกวันเมื่อฝนฟ้าอากาศอำนวยไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหรือ ฤดูหนาว การเดินย่อมดีกว่าการนั่งรถเที่ยวเล่นหรือการขับรถ เพราะ กล้ามเนื้อจะได้ออกกำลังมากกว่า ปอดก็จะลูกบงคับให้ทำงานอย่างเต็มที่ เพราะมนเป็นไปไม่ได้ที่จะเดินเร็วโดยที่ปอดไม่ยอมขยายตัว {MH 240.4}MHTh 263.1

    การได้ออกกาล่งกายเช่นนี้จะส่งผลดีมากกว่าการริบประทานยา ในหลายๆ กรณี แพทย์ทั้งหลายมักจะแนะนำคนไขให้เดินทางไปเที่ยว ทะเล ไปอาบนํ้าแร่หรือไปตากอากาศตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเปลี่ยนสภาพ อากาศ แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ถ้าคนไขได้รับประทานอาหารอย่างลูกต้อง และได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมด้วยจิตใจที่เบิกบาน พวกเขาก็จะหาย ป่วย อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเงินทองและเวลาอีกด้วย {MH 240.5}MHTh 263.2

    *****